หลักการสมถะและวิปัสสนาจากพระมงคลเทพมุนี MD 305 สมาธิ 5  หน้า 56
หน้าที่ 56 / 114

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี อธิบายถึงการทำใจให้หยุด โดยการรวมความคิดไว้ที่ศูนย์กลางกาย เพื่อเข้าถึงปฐมฌานและบรรลุธรรมกาย รวมถึงการใช้ญาณในการพิจารณาธรรมชาติของกายมนุษย์และกายละเอียดต่างๆ เพื่อให้บรรลุมรรคผลและมีความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้อย่างชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการปฏิบัติและผลจากการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-หลักการสมถะ
-การเจริญวิปัสสนา
-วัตถุประสงค์ของการศึกษา
-ความแตกต่างระหว่างสมถะและวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายลักษณะของสมถะไว้ว่า หมายถึง การทำใจให้หยุด มีวิธีการคือการ รวมความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ไว้ที่ศูนย์กลางกายให้ได้ โดยมีบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส และบริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง เข้าช่วย ผลแห่งการเจริญสมถะย่อมทำให้เข้าถึงปฐมฌาน คือ ดวงปฐมมรรค และเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายพรหม กายอรูปพรหมไปตามลำดับ 2. การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ การเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุของพระธรรมกาย รู้ได้ด้วย ญาณของพระธรรมกาย เกิดจากการเข้าถึงพระธรรมกาย และใช้ตา และญาณของพระธรรมกายพิจารณา ไตรลักษณ์ และเมื่อใช้ธรรมจักขุและญาณของพระธรรมกายพิจารณาอริยสัจ ในกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ทำให้บรรลุมรรคผลไปตามลำดับขั้น 3. ในหลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระมงคลเทพมุนี จัดแบ่งกาย 8 กาย ตั้งแต่ กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด ว่าเป็นสมถะ กาย 10 กาย ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูหยาบ จนถึง กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดเป็นวิปัสสนา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย วิธีการปฏิบัติ และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ สมถกัมมัฏฐานตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย หลักปฏิบัติ และผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญ วิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนีได้ 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกความแตกต่างของสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักคำสอน ของพระมงคลเทพมุนีได้ บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี DOU 47
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More