ศีลและธรรมในพระไตรปิฎก MD 305 สมาธิ 5  หน้า 24
หน้าที่ 24 / 114

สรุปเนื้อหา

บุคคลที่มีศีลย่อมไม่เดือดร้อนใจ และทำให้จิตสงบได้ตามลำดับ การรักษาศีลบริสุทธิ์ถือเป็นเสมือนบันไดที่นำไปสู่สมาธิและธรรมเบื้องสูง การศึกษาธรรมะ ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมสร้างความปราโมทย์ ทำให้เกิดปีติและทำให้กายสงบ การทำความเข้าใจในธรรมทำให้เกิดสุขใจและจิตตั้งมั่น ซึ่งเป็นหัวใจของวิมุตตายตนะ โดยสามารถกลั่นกรองด้วยการแสดงธรรม หรือท่องบทธรรมตามที่ได้เรียนรู้ สิงสำคัญคือการรักษาและปฏิบัติตามที่ได้รู้เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนในธรรม

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-การปฏิบัติธรรม
-การบรรลุสมาธิ
-ความปราโมทย์
-วิมุตตายตนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บุคคลที่มีศีลย่อมไม่เดือดร้อนใจ และทำให้จิตสงบได้ตามลำดับ ดังนั้นบุคคลที่จะปฏิบัติธรรม ให้ผลการปฏิบัติก้าวหน้าไปตามลำดับ จำต้องสมาทานรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศีลจึงเปรียบเสมือนบันได เพื่อนำไปสู่สมาธิและธรรมเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไป (2) เกิดจากการได้ศึกษาธรรมะ ฟังธรรมและปฏิบัติธรรม จึงเกิดความปราโมทย์ สมาธิ จึงเกิดขึ้นดังนี้ “ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะ ควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ภิกษุรู้อรรถและ รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะ เป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอ ผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดเมื่อใจมีปีติ กาย ย่อมสงบ ผู้มีกาย สงบ ย่อมเสวยความสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่หนึ่ง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุอีกอย่างหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม ในธรรมนั้นโดย ประการที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่สอง ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมใน ธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุ กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้ เรียนมา ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถผู้รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติ ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังตามที่ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 15
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More