ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือ ร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ก็รู้ชัดในอาการ
ที่เป็นอยู่นั้นๆ ดังพุทธพจน์ว่า
“ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ชัดว่า เราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า
เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ
ก็รู้ชัดว่าอาการอย่างนั้นๆ”
3. มีสัมปชัญญะ คือ กำหนดรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายทุกอย่าง ดังพุทธพจน์ว่า
“ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ ในการก้าวไปและถอยกลับ, ในการมอง และ
การเหลียว, ในการคู่เข้าและเหยียดออก, ในการทรงผ้าสังฆาฏิ, บาตร และจีวร,
ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง
หลับ ตื่น พูด นิ่ง”2
4. ปฏิกูลมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนเอง ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าซึ่งมีส่วน
ประกอบต่างๆ ที่ไม่สะอาดประกอบอยู่ ดังพุทธพจน์ว่า
“ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่
ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง
เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ได้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญญชาตินานาชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก
ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ได้นั้นแล้ว จึงเห็นได้ว่า
นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้น เหมือนกันย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมี
ประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้”
- มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 134 หน้า 608
- มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 135 หน้า 608-609
* มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 136 หน้า 609
บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 19
T