การตรึกตรองและปัญญาในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 25
หน้าที่ 25 / 114

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการตรึกตรองและปัญญาในพระพุทธศาสนา โดยเน้นว่าเมื่อปริยัติธรรมได้รับการเรียนรู้และตรึกตรองจากใจ จะนำไปสู่ความปราโมทย์และปีติ การมีสมาธิและความสุข เมื่อพระภิกษุทั้งหลายร่วมมือกันอย่างปรองดองจะพัฒนาบุญและความสุข ผลกระทบของการสำรวมอินทรีย์ต่อจิตใจก็สำคัญ ของการเรียนรู้ธรรมตามใจอีกด้วย ทุกอย่างเชื่อมโยงไปสู่วิมุตติและความสุขในชีวิต

หัวข้อประเด็น

- การตรึกตรองธรรม
- ความสำคัญของสมาธิ
- ปัญญาในพระพุทธศาสนา
- ความสามัคคีในหมู่สงฆ์
- การสำรวมอินทรีย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อีกอย่างหนึ่ง เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้ เรียน มาด้วยใจ เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุ ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ ความ ปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมี ปีติ กายย่อมสงบผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่นนี้ก็เป็น วิมุตตายตนะข้อที่สี่ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียน มาโดยพิสดาร ทั้งไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้ เรียนมาด้วยใจ อีกอย่างหนึ่ง สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถ และเป็น ผู้รู้ธรรมในธรรมนั้นโดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุ เรียนดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ความ ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า (3) เกิดจากความสามัคคี ปรองดองกัน ดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เป็นประหนึ่งว่านมประสม กับน้ำ มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ใน สมัยนั้น ภิกษุ ทั้งหลายชื่อว่าอยู่อย่างพรหม คือ อยู่ด้วยมุทิตา (พรหมวิหาร) อันเป็นเครื่องพ้นแห่งใจ (จากริษยา) ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ยินดี กายของ ผู้มีใจปีติย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ” (4) เกิดจากการสำรวมอินทรีย์ คือ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ดังนี้ ทีฆนิกาย ปาฏิวรรค, มก. เล่มที่ 16 ข้อ 419 หน้า 416-418 * อังคุตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่มที่ 34 ข้อ 535 หน้า 428 16 DOU ส ม า ธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More