การเกิดและจริตในพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 98
หน้าที่ 98 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุญกุศลและจริตในพุทธศาสนา โดยการบำเพ็ญบุญที่ปราศจากความเข้าใจหรือมีอารมณ์ที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดโมหจริตและวิตกจริต ส่วนการบำเพ็ญบุญด้วยศรัทธาและปัญญาจะส่งผลให้มีสัทธาจริตและพุทธิจริต การเข้าใจกรรมและผลของการกระทำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเกิดจริตที่ดี

หัวข้อประเด็น

-ความเชื่อมโยงระหว่างบุญและจริต
-ประเภทของจริตในพุทธศาสนา
-ผลของกรรมต่อจริต
-ศรัทธาและปัญญาในบุญกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หรือว่าจุติมาจากนรกนั้น โดยมากเป็นผู้ที่มีโทสจริต ผู้ที่มีโทสจริตนั้น เตโชธาตุและวาโยธาตุ มีกำลังมาก 3. ถ้าในขณะที่บำเพ็ญบุญกุศล ทำไปโดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลในการกระทำ เพียงแต่ทำไป ตามธรรมเนียมที่เคยทำกันมา ทำไปตามสมัยนิยม หรือเกิดสงสัยในผลของบุญกุศลกุศลนั้นขึ้นมา บางทีก็ คิดฟุ้งไปในเรื่องอื่น จิตใจไม่ได้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลที่กำลังทำนั้นเลย กุศลที่เจือปนด้วยโมหะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีโมหจริต อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ชาติก่อนเพลิดเพลินในการดื่มน้ำเมาเป็นนิจ ไม่ชอบศึกษา ไม่ไต่ถามสนทนากับ บัณฑิต หรือจุติมาจากสัตว์ดิรัจฉาน โดยมากมักเป็นผู้ที่มีโมหจริต ผู้ที่มีโมหจริตนั้น ปฐวีธาตุและอาโปธาตุมีกำลังมาก 4. ถ้าในขณะที่บำเพ็ญบุญกุศล มัวแต่ไปนึกถึงความเพลิดเพลินในเรื่องกามคุณ อารมณ์อันเป็น กามวิตก คิดในทางเกลียดชังปองร้ายผู้อื่นอันเป็นพยาบาทวิตก หรือคิดไปในทางเบียดเบียนทำลาย ความสุขผู้อื่นให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจ อันเป็นวิหิงสาวิตก บุญกุศลที่เจือปนด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีวิตกจริต 5. ในขณะที่บำเพ็ญบุญกุศล มากด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ตลอดจนความเลื่อมใส ที่เกิดเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม (รูปปปมาณ) เพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย (ลขปปมาณ) เพราะได้ยินกิตติศัพท์ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ โฆสปปมาณ) เพราะได้สดับตรับฟังธรรมของ ผู้ที่ฉลาดในการแสดงธรรม (ธมฺมปปมาณ) เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นศรัทธาทั้งนั้น บุญกุศลที่มั่น ในศรัทธาเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีสัทธาจริต 6. ถ้าในขณะที่บำเพ็ญบุญกุศลอยู่ ได้ระลึกนึกคิดด้วยว่า การทำดีย่อมได้รับผลดี การทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตัว ตัวจะต้องได้รับผลไปตามกรรมนั้นๆ สัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนตัวเราเองสักแต่ว่าเป็นรูปเป็นนาม มีความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ต้องแตกดับไป ไม่มีตัวมีตนที่จะ บังคับบัญชา ให้เป็นไปอย่างที่ใจปรารถนาได้ อันเป็นวิปัสสนาปัญญา หรือแม้แต่เพียงตั้งใจปรารถนาว่า ด้วยอำนาจแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ได้เกิดเป็นคนมีปัญญาต่อไป เหล่านี้เป็นต้น ย่อมเป็นเหตุ ให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีพุทธิจริต พุทธิจริตนี้บ้างก็เรียกว่า ปัญญาจริต สาเหตุที่มีจริตต่างกันสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังต่อไปนี้ บทที่ 5 จ ริ ต ก บ ก า ร ป ฏิ บั ติ ก ม ม ฏ ฐ า น DOU 89
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More