การทำความสะอาดและการเตรียมตัวก่อนปฏิบัติธรรม MD 305 สมาธิ 5  หน้า 88
หน้าที่ 88 / 114

สรุปเนื้อหา

การทำความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญก่อนการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการซักจีวร การทำความสะอาดบาตร หรือการเก็บจัดข้าวของในบ้าน รวมไปถึงการดูแลร่างกายให้สะอาด การทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจสงบ ลดความกังวลและเพิ่มสมาธิให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความสะอาด ทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง อัชฌาสัย 6 ประการของพระโพธิสัตว์ เช่น อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ก็ช่วยให้การฝึกจิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการทำความสะอาด
-การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติธรรม
-อัชฌาสัย 6 ประการของพระโพธิสัตว์
-การจัดการเครื่องใช้ในบ้าน
-การดูแลร่างกายและจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. ถ้าจีวร เครื่องนุ่งห่มสกปรก จึงซักให้สะอาดเรียบร้อย 5. ถ้าในบาตรมีสนิม ก็ต้องทำการระบบบาตรเสียใหม่ให้ดีขึ้น หรือถ้าเครื่องใช้ประจำตัวสกปรก ไม่เรียบร้อย ก็พึงชำระเสียให้เรียบร้อย ในส่วนของฆราวาส การตัดปลิโพธเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ได้แก่ การจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ ในบ้านให้เรียบร้อย การดูแลทำความสะอาดบ้าน เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้งานต่างๆ ให้สะอาด การทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดก่อนการปฏิบัติธรรม สิ่งเหล่านี้แม้ว่าดูจะเหมือนเป็น สิ่งเล็กน้อย แต่หากท่านใดได้ทำสิ่งเหล่านี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ใจก็จะสบายไม่ต้องกังวลถึงเรื่องเหล่านี้ ในเวลาปฏิบัติธรรมอยู่ และที่สำคัญการทำความสะอาดสิ่งของภายนอกให้เรียบร้อย และการชำระกายให้สะอาด เรียบร้อยจะทำให้จิตใจสบาย สะอาดผ่องแผ้ว แม้สมาธิที่เกิดขึ้นก็จะแจ่มชัด อุปมาเหมือนกับแสงสว่าง แห่งประทีปที่เกิดจากตัวตะเกียงที่มีไส้และน้ำมันที่สะอาดหมดจด ไม่มีเขม่าควันสกปรก ในเรื่องนี้มีคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงเป็นต้นแบบที่ดียิ่ง ซึ่งท่านมัก มีปกติจัดข้าวของ โดยจะวางของเรียงจากเล็กไปหาใหญ่ ดูแลทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ใช้นุ่งห่ม จนดู เหมือนใหม่อยู่เสมอ มีปกติทำความสะอาดสิ่งของทั้งภายนอกและภายใน เช่น บันไดท่านก็ถูทั้งข้างบน และใต้บันไดด้วย สิ่งเหล่านี้ท่านบอกว่า ยายฝึกเป็นนิสัย ถ้าหยาบทำได้ละเอียด ละเอียดก็จะละเอียดด้วย คือ ถ้าเรื่องภายนอกร่างกายเราสามารถจัดการได้ดี การนั่งสมาธิซึ่งเป็นเรื่องของการฝึกจิตที่ต้องอาศัย ความละเอียดอ่อน ก็จะสามารถทำได้ดีด้วย 4.6 มีอัชฌาสัย 6 ประการ ของพระโพธิสัตว์ อัธยาศัย 6 ประการนี้ เป็นอุปนิสัยของพระโพธิสัตว์ ที่ทำให้ฝึกปฏิบัติสมาธิได้ดี 1. อโลภัชฌาสัย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัชฌาสัย ประกอบด้วยอโลภะ (ไม่โลภ) เห็นโทษของโลภะเป็นปกติ ไม่มีนิสัยโลภในคน สัตว์ สิ่งของ ของผู้อื่น 2. อโทสัชฌาสัย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัชฌาสัย ประกอบด้วยอโทสะ (ไม่โกรธ) เห็นโทษของโทสะเป็นปกติ มีความเมตตาปรารถนาดีกับทุกๆ คน 3. อโมหัชฌาสัย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัชฌาสัย ประกอบด้วยอโมหะ (ไม่หลง) เห็นโทษของโมหะเป็นปกติ เป็นผู้มีสติปัญญา ไม่หลงเลอะเลือน เห็นผิดเป็นผิด เห็นถูกเป็นถูก เห็นทุกสิ่ง ตามความเป็นจริง บ า ที่ 4 กิ จ เ บื้ อ ง ต้ น ก่ อ น ก า ร เ จ ริ ญ กัมมัฏ ฐ า น DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More