ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 1
กัมมัฏฐานและวิธีปฏิบัติในพระไตรปิฎก
ในชุดวิชาสมาธิที่ผ่านมา นักศึกษาได้ศึกษาหลักพื้นฐานของการเจริญสมาธิ ทำให้ทราบแนวทาง
ในการปฏิบัติสมาธิในชีวิตประจำวัน และได้ฝึกปฏิบัติกันอย่างจริงจังมาแล้ว สำหรับในบทเรียนนี้ นักศึกษา
จะได้ศึกษาเรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับหลักทฤษฎีของการเจริญสมาธิภาวนา หรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานใน
พระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติที่ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้นไป
1.1 กัมมัฏฐานคืออะไร
คำว่า กัมมัฏฐาน เป็นคำที่ติดปากชาวพุทธมานานแล้ว โดยเฉพาะท่านที่ชอบเข้าวัด
ฟังธรรมและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการฝึกจิต หลายๆ ท่านเมื่อพูดถึงคำนี้ อาจจะนึกถึงภาพของพระธุดงค์
ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติ มีปกติเดินทางไปตามที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาที่สงบ และปฏิบัติธรรม หลายท่าน
ก็จะนึกถึงภาพของผู้คนที่กำลังหลับตา ในท่านั่งขัดสมาธิ แล้วท่องบ่นคำภาวนาซ้ำๆ หรืออีกหลายๆ อย่าง
ที่จะนึกจินตนาการ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจว่ากัมมัฏฐานเป็นเรื่องของการฝึกสมาธิ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้
และเข้าใจในความหมายของคำนี้ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นจึงจะได้อธิบายขยายความต่อไป
1.1.1 ความหมายของกัมมัฏฐาน
คำว่า กัมมัฏฐาน เมื่อแปลโดยรากศัพท์แล้ว หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน หรือที่ตั้งแห่งการกระทำ
คำว่า กัมมัฏฐาน นี้ ในพระไตรปิฎก ใช้เป็นคำกลางๆ ที่หมายถึงทั้งสถานที่ประกอบการงาน
หรือแหล่งแห่งการงาน หรือธุรกิจของผู้ครองเรือนก็ได้ หรือหมายถึงวิธีการเจริญสมาธิก็ได้ ดังที่ปรากฏ
ข้อความในสุภสูตร ที่สุภมาณพได้ทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องผลของฐานะแห่งการงานหรือ
การปฏิบัติกิจในหน้าที่ระหว่างของคฤหัสถ์ที่มีการตระเตรียมมากมีกิจที่ต้องทำมาก กับบรรพชิตที่มีการ
ตระเตรียมน้อย มีกิจที่ต้องทำน้อย ว่าอย่างไหนจะมีผลมากกว่ากัน พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า
หน้า 16
1 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์), 2546
4 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น