อารมณ์และผลของสมถกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 40
หน้าที่ 40 / 114

สรุปเนื้อหา

การเจริญสมถกัมมัฏฐานต้องรักษาจิตให้มีอารมณ์เดียว อารมณ์ของสมถะทำให้จิตสงบ มี 40 วิธีแบ่งเป็น 7 หมวด โดยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะทำให้จิตเกิดสมาธิ ส่งผลให้กิเลสสงบ โดยมีองค์ฌาน 5 ที่ช่วยข่มนิวรณ์ 5 จุดประสงค์เพื่อให้เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นผลที่สำคัญของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน องค์ธรรมที่เกิดขึ้นในสมาธินี้ช่วยในการปรับใจให้สงบจากกิเลส

หัวข้อประเด็น

-อารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน
-วิธีการฝึกสมถกัมมัฏฐาน
-ผลจากการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน
-องค์ฌาน 5
-นิวรณ์ 5

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.1.2 อารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน การที่จะเจริญสมถกัมมัฏฐานเพื่อให้ได้ฌาน จะต้องรักษาจิตให้มีอารมณ์เดียวตลอดเวลา จิตที่มี อารมณ์เดียว ย่อมมีกำลังมหาศาลเหมือนน้ำที่ไหลสายเดียว มีกำลังมากกว่าน้ำหลายสาย สิ่งที่ทำให้จิตเข้าไปยึดเหนี่ยวเพื่อให้เกิดความสงบ ท่านเรียกว่า อารมณ์ของสมถะ คือ วิธีที่ทำให้ ใจสงบ ผู้ที่ต้องการจะบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน จะต้องศึกษาให้เข้าใจอารมณ์ของกัมมัฏฐานเสียก่อน จึงลงมือปฏิบัติได้ถูกต้องและได้ผลดี ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะและคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานไว้ว่า มี 40 วิธี แบ่งเป็น 7 หมวด คือ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 อรูปกัมมัฏฐาน 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน 2.1.3 ผลของสมถกัมมัฏฐาน เมื่อฝึกปฏิบัติ โดยการใช้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น จากสมาธิในระดับต้นที่เป็น ขณิกสมาธิ เมื่อได้หมั่นฝึกจิตบ่อยๆ จิตก็จะตั้งมั่นมากขึ้น จนกระทั่งเป็นอุปจารสมาธิแล้ว ถ้าหากไม่เลิกล้มกลางคัน หมั่น ประคองรักษาสมาธิที่ได้นั้นไว้ ในที่สุดจิตก็ย่อมถึงความสงบตั้งมั่น ปักกิ่งในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แนบ แน่นเต็มที่ จนเป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิในระดับนี้ถือเป็นผลที่พึงหวังของการเจริญสมถกัมมัฏฐาน และเมื่ออัปปนาสมาธิเกิดขึ้นย่อมทำให้จิตสงบจากกิเลส กิเลสในที่นี้ หมายถึง ปริฏฐานกิเลส เป็นกิเลส ระดับกลาง ที่เรียกว่า นิวรณ์ 5 ดังได้กล่าวไปแล้วในสมาธิ 3 ว่าประกอบด้วย 1. กามฉันทะ 2. พยาบาท 3. ถีนมิทธะ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ 5. วิจิกิจฉา (1) องค์ฌาน 5 การที่กิเลสเหล่านั้นสงบลงไปได้ ไม่แสดงผลออกมา ก็เพราะสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีองค์ธรรม ปรากฏเกิดขึ้นเป็นลำดับ และองค์ธรรมนี้เองที่ไปข่มกิเลสดังกล่าวไว้ องค์ธรรมที่เกิดขึ้นนี้ คือ 1) วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ จดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อวิตก เกิดขึ้นแล้ว ย่อมข่มถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความที่จิตหดหู่ ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง วิตกนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติ ไม่เกิดอาการง่วงหลับ เคลิบเคลิ้มในขณะทำสมาธิ บทที่ 2 สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา DOU 31
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More