ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในการแผ่เมตตา เช่นนี้ก็เรียกว่า ภาวนา
นอกจากนี้ คำว่า ภาวนา ยังเป็นการคิดในลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งเพื่ออบรมคุณธรรมบางอย่าง
ให้มีในตน เช่น เมื่อเจริญเมตตาภาวนา บุคคลจะไม่คิดถึงเฉพาะมิตรภาพเท่านั้น แต่จะต้องทำให้
มิตรภาพเกิดขึ้นและเจริญมากยิ่งขึ้นในใจของเขาด้วย เพื่อจะได้ขจัดเสียซึ่งความคิดผูกพยาบาท ความคิด
เกลียดชัง และความคิดอื่นๆ ที่จะมีต่อศัตรู และในที่สุดผู้ปฏิบัติก็จะมีความเป็นมิตรต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง
ในความหมายนี้ภาวนาจึงเป็นคุณธรรมที่เหมาะสมยิ่ง
โดยสรุป คำว่า ภาวนา หมายถึง การสะสมคุณธรรมทั้งหลายไว้ในตนเพื่อที่จะบรรลุนิพพาน
ยิ่งกว่านั้น ภาวนายังเป็นคำแพร่หลายและใช้เสมอแทนคำว่าสมาธิ
1.3 ประเภทของกัมมัฏฐาน
ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง วิชชาภาคิยธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นส่วนแห่งการรู้แจ้ง
สภาวธรรมตามความเป็นจริง โดยแบ่งเป็น 2 อย่าง ดังพุทธพจน์ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม 2 อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ 1 วิปัสสนา 1
วิชชาภาคิยธรรมนี้ เป็นคำในพระไตรปิฎก ที่ใช้แทนคำว่า กัมมัฏฐาน แต่เมื่อกล่าวถึงกัมมัฏฐาน
ในคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านก็ระบุไว้โดยเฉพาะว่า กัมมัฏฐาน มี 2 ประเภท คือ
1. สมถกัมมัฏฐาน หมายถึง การทำให้จิตสงบ
2. วิปัสสนากัมมัฏฐาน หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณากฎธรรมดาเมื่อจิตสงบลง
1.4 จุดมุ่งหมายของกัมมัฏฐาน
การทำงานทุกอย่างจะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การที่บุคคลทำ
กิจกรรมแบบไม่มีจุดหมายปลายทางก็เหมือนกับการล่องเรือไปในมหาสมุทรที่ไม่มีเข็มทิศและแผนที่ ไม่รู้
จะไปทางไหนดี ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็เห็นแต่น้ำทะเล สุดท้ายก็ต้องล่องเรือวนเวียนอยู่ในท่ามกลาง
มหาสมุทรจนหมดกำลังสิ้นใจตาย หรือไม่ก็ถูกภัยอื่นๆ เช่น พายุร้ายคุกคาม เป็นต้น แต่ถ้าหากการทำงาน
1 สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 28
อังคุตรนิกาย ทุกนิบาต, มก. เล่มที่ 33 ข้อ 275 หน้า 353
3 ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ., ประมวลศัพท์ศาสนา, อมราการพิมพ์ 2527 หน้า 12
บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 9
T