กัมมัฏฐานและการหลุดพ้นในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 22
หน้าที่ 22 / 114

สรุปเนื้อหา

การกัมมัฏฐานเป็นวิธีปฏิบัติที่สำคัญในพระพุทธศาสนาเพื่อการหลุดพ้น การเข้าใจถึงสังสารวัฏและกิเลสจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงพระนิพพาน ว่าด้วยปัจจัยที่นำไปสู่ทุกข์ เช่น ชีวิตและการเวียนว่าย ขณะที่การทำกุศลขั้นพิเศษในพระพุทธศาสนาสามารถช่วยขจัดกิเลสได้ เมื่อมีความเข้าใจในธรรมชาติแห่งทุกข์ ผู้นั้นจะสามารถก้าวข้ามสังสารวัฏได้

หัวข้อประเด็น

-กัมมัฏฐาน
-หลุดพ้นจากทุกข์
-สังสารวัฏ
-วิธีปฏิบัติในพระไตรปิฎก
-การทำกุศลเพื่อความดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็น ปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่ง เวทนา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อม เพลิดเพลินย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มต่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่ม อยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้” 1.4.3 เพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่พระนิพพาน กัมมัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่พระนิพพาน การทำกุศลชั้นพิเศษในพระพุทธ ศาสนา ที่เรียกว่า วิวัฏฏคามินีกุศล (การทำความดีที่ทำให้ออกจากวัฏฏะ) เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางไปสู่ความ หลุดพ้น หมดกิเลส เข้าสู่พระนิพพาน ซึ่งแตกต่างจากการทำทาน รักษาศีล ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานอัน นำไปสู่ความสมบูรณ์ในชีวิตของการเวียนว่าย ในสังสารวัฏ แต่ยังไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏได้ แต่กัมมัฏฐานเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจและยอมรับในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทำให้เห็นทุกข์ภัยที่เกิดขึ้น จากชีวิตที่วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ และเข้าใจถึงความเป็นไปแห่งวงจรสังสารวัฏ รู้ต้นเหตุของสังสารวัฏ และทำให้ขจัดกิเลส อันเป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดได้ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้ มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุนั้นจึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี บุคคลเหล่าใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส” 1.5 วิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก ดังต่อไปนี้ เมื่อกล่าวถึงวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก ท่านได้แสดงวิธีการเจริญสมาธิแบบต่างๆ ไว้ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 24 ข้อ 61 หน้า 128 บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 13 ท
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More