ข้อความต้นฉบับในหน้า
2) ทิพพโสตญาณ คือ มีหูทิพย์ สามารถได้ยินเสียงที่เบาหรืออยู่ห่างไกลได้ โดยที่คนปกติ
ไม่สามารถได้ยิน
3) เจโตปริยญาณ หรือปรจิตตวิชานนญาณ คือ สามารถรู้จิตใจของผู้อื่นว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่
4) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือการระลึกชาติได้ว่าชาติที่แล้วเคยเกิดเป็นอะไรมาแล้ว
5) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ คือมีตาทิพย์ สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ไกลมากหรือ
อยู่ในที่กำบังได้ และสามารถรู้การจุติ และปฏิสนธิของสัตว์ได้ว่าตายไปแล้วนี้ ได้ไปเกิดเป็นอะไรอยู่ที่ไหน
ในภพภูมิต่างๆ
ทิพพจักขุญาณ ย่อมทำให้เกิดญาณพิเศษ 2 ประการ คือ
1. ยถากัมมูปคญาณ เป็นญาณที่ทำให้รู้ว่าสัตว์ที่กำลังได้รับสุข หรือทุกข์นั้น เพราะได้
ทำกรรมอะไรมาในอดีต
2. อนาคตังสญาณ เป็นญาณที่ทำให้รู้ความเป็นไปในอนาคตของสัตว์เหล่านั้นว่า เพราะกรรม
นั้นๆ เมื่อเคลื่อนไปจากภพนี้แล้ว ย่อมไปสู่ภพภูมิใดต่อไป
2.2 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
2.2.1 ความหมายของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
วิปัสสนา คือ ปัญญารู้แจ้ง หมายถึง ภาวนาปัญญา มีการหยั่งเห็นความไม่เที่ยง เป็นต้น
ล่วงพ้นอารมณ์มีความเป็นบุรุษและสตรี พร้อมทั้งความเที่ยงและความสุขเป็นต้น ซึ่งมหาชนในโลก
รู้เห็นกันในขันธ์ทั้งหลาย
มหาชนในโลกสำคัญขันธ์ 5 โดยความเป็นบัญญัติว่า บุรุษ สตรี ตัวเรา ของเรา มีความเห็นผิด
แปรปรวนจากความจริง 4 ประการ คือ
นิจจสัญญา ความสำคัญว่าเที่ยง
สุขสัญญา ความสำคัญว่าสุข
อัตตสัญญา
ความสำคัญว่าเป็นตัวตน
สุภสัญญา ความสำคัญว่าดีงาม
- อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี พระคันธสาราภิวงศ์ แปล, สำนักพิมพ์ตาลกุด, 2546 หน้า 760
36 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น