ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า
เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข
เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
ไม่มีอามิส ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น
ในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณา
เห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้างอยู่ อนึ่ง สติของเธอ
ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงเพื่อความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก”
เวทนา หมายถึง ความเสวยอารมณ์ มี 3 อย่างคือ
1. สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายหรือทางใจ
2. ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายหรือทางใจ
3. อทุกขมสุขเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ บางทีเรียกว่า อุเบกขาเวทนา
อามิส หมายถึง เหยื่อล่อ คือกามคุณ 5 ดังนั้นสุขที่มีอามิสในพุทธพจน์ จึงหมายถึง สุขจาก
กามคุณ 5 สุขที่ไม่มีอามิส หมายถึง สุขที่ไม่ต้องอาศัยกามคุณ เป็นสุขที่เกิดจากการที่ใจสงบ เป็นต้น
(3) จิตตานุปัสสนา
หมายถึง การตามเห็นจิตในจิต คือ เห็นจิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ
มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิหลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น เป็นต้น ดังพุทธพจน์ว่า
* มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 139 หน้า 613
บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 21