การระงับโทสจริตผ่านกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 110
หน้าที่ 110 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการกับโทสจริต โดยใช้วิธีการของกัมมัฏฐาน 8 ประเภท ที่รวมถึงพรหมวิหาร 4 และวรรณกสิน 4 ซึ่งจะช่วยลดอารมณ์โทสะ เพื่อให้จิตใจสงบ รวมถึงหลักการของอานาปานสติในการควบคุมอารมณ์และการระลึกถึงคุณงามความดีในพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง เช่น พุทธานุสติ เป็นต้น เทคนิคเหล่านี้ทำให้ใจค่อยๆ หยุดนิ่ง มีความสงบและมีสติพัฒนาต่อไป. สำหรับความผูกพันและความเชื่อในพระธรรมและพระสงฆ์มีส่วนเพื่อเสริมสร้างสติและการปฏิบัติให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-โทสจริต
-กัมมัฏฐาน
-พรหมวิหาร
-อานาปานสติ
-ความเชื่อในพระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.5.2 โทสจริต คนใจร้อน มักโกรธ หรือในขณะนั้นมีอารมณ์โกรธขัดเคืองเกิดขึ้น อันเป็นอุปสรรคต่อการ เจริญภาวนา ท่านให้ใช้กัมมัฏฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 และวรรณกสิณ 4 เพื่อระงับดับโทสะ จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัวระงับไป จนกระทั่งใจหยุดนิ่งในที่สุด ก. พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมที่แผ่ออกไปในมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างเสมอกันไม่มี ประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต ประกอบด้วย 1. เมตตา (ความรักใคร่ปรารถนาให้เป็นสุข) 2. กรุณา (ความปรารถนาให้สัตว์ที่ตกยากมีทุกข์ให้พ้นทุกข์) 3. มุทิตา (ความยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข) 4. อุเบกขา (ความเป็นกลางต่อสุขทุกข์ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย) ข. วรรณกสิน 4 อันประกอบด้วย นีลกสิน (สีเขียว) ปิตกสิน (สีเหลือง) โลหิตกสิน (สีแดง) โอทากสิน (สีขาว) 5.5.3. โมหจริตและวิตกจริต เป็นลักษณะของผู้ที่มีอารมณ์ตกอยู่ในอำนาจความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด ท่านให้เจริญอานาปานสติอย่างเดียว อานาปานสติ คือ การเอาสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ 5.5.4. สัทธาจริต ผู้ที่มีความประพฤติตั้งอยู่บนความเชื่อ เชื่อโดยปกติ บูชาความเชื่อ ท่านให้เจริญกัมมัฏฐาน 6 อย่าง ที่เรียกว่าอนุสติ (อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ) มี พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ ก. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพิจารณาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ข. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรมและพิจารณาคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ ค. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์และพิจารณาคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ง. สีลานุสติ ระลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติไม่ด่างพร้อย บ า ที่ 5 จ ริ ต ก บ ก า ร ป ฏิ บั ติ ก ม ม ฏ ฐ า น DOU 101 บ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More