โมหจริตและธรรมปฏิบัติ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 104
หน้าที่ 104 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความเฉยชาของมนุษย์ที่ไม่สนใจสิ่งรอบข้างและอิงความคิดเห็นจากผู้อื่น ขยายความถึงจิตที่ประกอบด้วยกิเลสและคุณธรรมที่มีอยู่ในกระบวนการคิด การรับรู้ และปฏิบัติของบุคคล รวมถึงอธิบายลักษณะต่างๆ ของจิตที่เป็นโมหจริตและการปรากฏของธัมมปวัตติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นกิเลสหรือคุณธรรมก็ตามที่ปรากฏในขันธสันดาน

หัวข้อประเด็น

-โมหจริต
-ธรรมปฏิบัติ
-จิตใจ
-กิเลสและคุณธรรม
-ราคจริต
-วิตกจริต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่อยากดู ไม่อยากฟัง ไม่อยากแตะต้อง ถ้ามีข้อบกพร่องประกอบอยู่บ้างแม้เพียงนิดหน่อยในสิ่งเหล่านั้น ก็จะยกเอามาเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดเคืองใจ ไม่นึกถึงความดีแม้มีอยู่มากมาย เมื่อสิ่งเหล่านั้นผ่านเลยไป ก็ไม่รู้สึกเสียดาย เมื่อตนจำเป็นต้องจากหรือหลีกไป ก็ใคร่ที่จะพ้นออกไปอย่างเดียว ไม่มีการแลเหลียว คิดห่วงหน้าพะวงหลัง หรืออาลัยอาวรณ์ในสิ่งเหล่านั้นแม้สักนิดก็ไม่มี โมหจริต ตามธรรมดาเมื่อได้เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยงามหรือไม่สวยงาม ก็ตาม มักจะไม่มีความคิดเห็นต่อรูปนั้นแต่อย่างใดที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ตนเองก็เป็นคนเฉยๆ ซึมๆ ไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยสนใจอะไรกับใครเขา ต่อเมื่อมีผู้อื่นให้ความเห็นหรือออกเสียงหนุนข้างใดขึ้นมา จึงจะมี ความเห็นคล้อยตามเขาไป เป็นบุคคลที่ตกอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า มีบุคคลอื่นเป็นปัจจัย คนอื่นใครเขาว่าดี ก็พลอยว่าดีไปกับเขาด้วยคนอื่นเขาออกปากชมก็พลอยชมกับเขาด้วยถ้าคนอื่นเขาออกปากติก็พลอยติกับเขา ด้วย แม้ในอารมณ์อื่นๆ คือ การได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส และได้สัมผัส ผู้เป็นโมหจริต ก็เป็นไปในทำนอง เดียวกันนี้ กล่าวคือ มีผู้อื่นเป็นปัจจัยทั้งสิ้น ต้องอาศัยผู้อื่นทุกอย่าง เช่นเดียวกับโมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต เช่นเดียวกับโทสจริต พุทธจริต เช่นเดียวกับราคจริต 5.3.5 ธัมมปวัตติ ความเป็นไปแห่งธรรม คือสังเกตธรรมที่ประพฤติ ธรรม ในที่นี้ไม่ได้หมายเอาเฉพาะธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมทั้งธรรม ที่เป็นฝ่ายกิเลสด้วย รวมความว่า ความเป็นไปแห่งธรรม หมายถึง กิเลสและคุณธรรมที่ประจำอยู่ใน ขันธสันดานของบุคคลนั้นๆ ราคจริต ตามธรรมดาย่อมมีจิตใจประกอบไปด้วยอกุศลธรรม คือ ธรรมอันทรามดังต่อไปนี้ มายา เป็นคนเจ้าเล่ห์ สาเจยย เป็นคนโอ้อวด มาน เป็นคนถือตัว ปาปิจฉา เป็นคนมีความปรารถนาลามก มหิจฉา เป็นคนที่มีความปรารถนาใหญ่ ต้องการให้คนทั้งหลายสรรเสริญใน คุณงามความดีของตนจนเกินประมาณ อสนฺตุฏฺฐิตา เป็นคนไม่มีความสันโดษ ไม่มีความพอใจในเครื่องอุปโภคบริโภค บทที่ 5 จ ริ ต กั บ ก า ร ป ฏิ บั ติ ก ม ม ฏ ฐ า น DOU 95
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More