จริตและสาเหตุที่มีความแตกต่างกันตามคัมภีร์ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 97
หน้าที่ 97 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงจริตในมนุษย์ที่แบ่งออกเป็นสามประเภท คือ สัทธาจริต, พุทธจริต, และราคจริต โดยแต่ละประเภทมีลักษณะและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยมีสาเหตุที่มาจากการบำเพ็ญบุญกุศล รวมถึงภพภูมิก่อนเกิดที่มีผลกระทบต่อจริตในชาติก่อนและชาติปัจจุบัน ผ่านการศึกษาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุติมรรค ซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลของกิจกรรมและสภาพร่างกายที่ส่งผลต่อความเชื่อและพฤติกรรมการตัดสินใจของคนในปัจจุบัน.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทจริต
-สาเหตุของจริต
-จิตและความเชื่อ
-อิทธิพลของกรรมในอดีต
-คัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุติมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ ทำตามความเชื่อ เอาความเชื่อ ออกหน้า ความคิดหรือความยึดมั่นมักอยู่เหนือการใช้เหตุผล และมักเชื่อโดยไร้เหตุผล อะไรที่ไม่เป็นไป ตามที่ตนเชื่อถือมักไม่ถูกต้อง มีใครแนะนำอะไรก็ตัดสินใจเชื่ออย่างเดียวโดยไม่ได้พิจารณา 6. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี คิดอะไรเป็นเหตุ เป็นผล ชอบใช้ความรู้และเหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำสิ่งใด มองปรากฏการณ์ต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง โดยปราศจากการปรุงแต่งหรืออคติส่วนตัว 5.2 เหตุที่มีจริตต่างกัน สาเหตุที่มนุษย์มีจริตต่างกัน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านได้กล่าวไว้ว่า จริต 3 อย่างข้างต้น คือ ราคจริต โทสจิต และโมหจริต เกิดจากเหตุ 2 อย่าง คือ จากสิ่งที่สั่งสมทับซ้อนมาช้านาน และ ความวิปริต ทางร่างกาย และคัมภีร์วิมุติมรรค” ได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า อีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องมาจากภพภูมิก่อนมาเกิด จึงรวมความได้ว่า สาเหตุที่มนุษย์มีจริตต่างกัน ก็เนื่องมาจากการบำเพ็ญบุญกุศลแต่ชาติปางก่อน ภพภูมิก่อนมาเกิด ธาตุทั้ง 4 ที่ประกอบขึ้นเป็นกายเนื้อ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่แตกต่างกัน จึงส่งผลให้มีจริต ที่ไม่เหมือนกันในชาติปัจจุบัน 1. ในขณะบำเพ็ญบุญกุศลจิตปรารภในการมีหน้ามีตา มีชื่อเสียง ได้เสวยมนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวตัณหา ราคะ ครุ่นคิดไปในการถือว่าเป็นตัวตนเราเขา อันเป็นตัวทิฏฐิ กุศล ที่เจือไปด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีราคจริต อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ผู้ที่จุติมาจากสวรรค์ เสวยกามคุณจนคุ้นเคย เมื่อทำบุญจึงปรารภเหตุ ที่เป็นกามเสียส่วนมาก หรือผู้ที่จุติมาจากเปรต จากอสุรกาย โดยมากเป็นผู้ที่มีราคจริต ผู้ที่มีราคจริต ธาตุทั้ง 4 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และ วาโยธาตุ (ธาตุลม) มีกำลังเสมอทัดเทียมกัน 2. ถ้าในขณะที่บำเพ็ญบุญกุศลนั้น เกิดมีความขุ่นเคือง เสียใจ เสียดาย อิจฉาริษยา รำคาญ เกิดขึ้นในใจ ด้วยกุศลที่เจือปนกับโทสะ มัจฉริยะ ตระหนี่) อิสสา(อิจฉา) กุกกุจจะรำคาญใจ) เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ที่เกิดมานั้นมีโทสจริต อีกนัยหนึ่ง เคยเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมมากไปด้วยการฆ่า การทำลาย การจองจำมาในชาติก่อน 2 * วิสุทธิมรรค1 (ภาค 1 หน้า 138) * วิมุติมรรค (หน้า 58) 88 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More