การแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า MD 305 สมาธิ 5  หน้า 51
หน้าที่ 51 / 114

สรุปเนื้อหา

ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีผลของการปฏิบัติของผู้ฟัง ธรรมที่ถูกแสดงมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนา โดยมีประสบการณ์จากพระยสกุลบุตรที่แสดงให้เห็นถึงการเจริญสมาธิและการเห็นอริยสัจ 4 ที่ต้องอาศัยการพิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อเข้าสู่การบรรลุธรรม จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ได้แก่ จากสมถะสู่วิปัสสนา ทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นและเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงจิตที่มีความบริสุทธิ์

หัวข้อประเด็น

-การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
-การปฏิบัติตามธรรม
-ความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา
-อริยสัจ 4
-ความแตกต่างระหว่างสมถะและวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ก็มีผลแห่งการปฏิบัติของผู้ฟังธรรมที่ชี้ให้เห็นถึง ลักษณะของการปฏิบัติที่เป็นไปตามขั้นตอนคือ ได้ผลคือใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแล้ว จึงใช้สมถะเป็นบาทเพื่อ เจริญวิปัสสนาต่อไป ดังตัวอย่างของพระยสกุลบุตร “เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดง อนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อ พระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตา เห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่ง นั่นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น” จะเห็นได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะ พระองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระยสะ ด้วยอนุปุพพิกถา จนกระทั่งจิตปราศจากนิวรณ์แล้ว คือ จิตเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จึงได้แสดงอริยสัจ 4 ซึ่ง ธรรมะที่ต้องอาศัยวิปัสสนาพิจารณาจึงจะเห็นอริยสัจ 4 ไปตามความเป็นจริง ดังนั้น ลำดับขั้นตอนของ การปฏิบัติจึงเริ่มจากสมถะแล้วต่อด้วยวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เป็นหลักปฏิบัติเพื่อนำจิตที่อยู่ ในขั้นโลกียะหรือจิตของปุถุชนเพื่อเข้าสู่โลกุตตระหรือจิตของพระอริยเจ้า 2.4 ความแตกต่างระหว่างสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า กัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนามี 2 อย่าง คือ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ทั้ง 2 ประการนี้ ท่านเรียกว่า ภาวนา คือ การทำให้เกิดขึ้นเจริญขึ้น เพราะต้องอาศัยฉันทะ ความเพียร และการหมั่นฝึกฝน จึงจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งทั้ง 2 ประการนี้มีลักษณะ วิธีการ และผลที่เกิดขึ้น แตกต่างกัน ดังตารางวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ - วินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่มที่ 6 ข้อ 26 หน้า 63 42 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More