ฌานและอภิญญาในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 44
หน้าที่ 44 / 114

สรุปเนื้อหา

การศึกษานี้เสนอความรู้เกี่ยวกับฌานในพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งเป็น 4 ฌานที่มีองค์ฌานต่างกัน โดยฌานแรกมีองค์ 5 องค์ และนำไปสู่อภิญญาที่เป็นผลพิเศษจากการบรรลุฌาน 4 ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำกิจพิเศษได้ อภิญญาประกอบด้วย อิทธิวิธี, อธิษฐานิทธิ, วิกุพพนิทธิ, และมโนมยิทธิ ซึ่งแสดงถึงความสามารถพิเศษที่เกิดจากการเจริญสมาธิและวิปัสสนา

หัวข้อประเด็น

-องค์ฌาน 5
-องค์ฌาน 3
-องค์ฌาน 2
-อภิญญา 5
-อิทธิวิธี
-วิกุพพนิทธิ
-มโนมยิทธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ฌาน 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา 2. ทุติยฌาน จิตประกอบด้วยองค์ฌาน 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา 3. ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์ฌาน 2 คือ สุข เอกัคคตา 4. จตุตฌาน ประกอบด้วยองค์ฌาน 2 คือ อุเบกขา (ความวางเฉย) เอกัคคตา อัปปนาสมาธิที่สูงขึ้นจะมีองค์ธรรมที่ประกอบร่วมกันอยู่น้อยกว่าองค์ฌานต้นๆ เนื่องจาก องค์ฌานในชั้นต้นๆ ยังมีภาวะที่ยังหยาบอยู่ องค์ฌานที่สูงขึ้นจึงละองค์ที่ยังหยาบไป เข้าสู่ภาวะที่สงบนิ่ง มากขึ้น ดังนั้นยิ่งความหลุดพ้นจากนิวรณ์นั้น เป็นความหลุดพ้นที่เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ เป็นความหลุดพ้น ด้วยอำนาจของสมาธิที่ข่มไว้ คือ จะหลุดพ้นจากกิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌาน แต่ถ้าออกจากฌานแล้ว กิเลสก็จะกลับมีได้อย่างเดิม 2.3.3 อภิญญา นอกเหนือจากฌานที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถกัมมัฏฐานแล้ว ยังอาจมีผลพิเศษที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากฌานนั้นด้วย คือ เมื่อผู้ปฏิบัติบรรลุฌาน 4 และเกิดวสีคือความชำนาญในฌานเหล่านั้นแล้ว พร้อมทั้งอนุโลมและปฏิโลม จิตก็อ่อนโยนควรแก่การงาน พร้อมที่จะทำกิจพิเศษซึ่งเป็นผลพิเศษเกิดขึ้น ในที่นี้เรียกว่า อภิญญา 5 ประกอบด้วย 1) อิทธิวิธี คือ ญาณที่มีลักษณะคือความสำเร็จของเรื่องที่อธิษฐานนั้นๆ ตามที่อธิษฐาน มี 3 ประการคือ 1. อธิษฐานิทธิ คือ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยการไม่สละรูปเดิมของตนและกระทำรูปเดิมให้มาก มีร้อยคนพันคน ทำหลายคนให้เป็นคนเดียว ด้วยการเหาะไปทางอากาศ เดินทะลุกำแพง ดำดิน เดินบนน้ำ เป็นต้น 2. วิกุพพนิทธิ คือ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยการสละรูปเดิม เนรมิตตนให้เป็นเด็ก งู เสือ ช้าง ม้า เป็นต้น ความต่างของอธิษฐานฤทธิ์ กับวิกุพพนฤทธิ์ คือ อธิษฐานฤทธิ์ บุคคลจะอธิษฐานโดยไม่เปลี่ยนร่าง แต่ในวิกุพพนฤทธิ์ บุคคลอธิษฐานเปลี่ยนร่างไปเป็นอย่างอื่น 3. มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยการเนรมิตสรีระอื่นที่เหมือนกับตนโดยอาการทั้งหมดใน สรีระตน บันดาลร่างกายให้ใหญ่โตสุดประมาณได้ เมื่อเนรมิตร่างต่างๆ แล้วปรารถนาจะไปพรหมโลก ด้วยกายเนรมิตนั้นก็ไปได้ และร่างเนรมิตนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งมวล ความสามารถไม่มีขาด หายไป อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี พระคันธสาราภิวงศ์ แปล, สำนักพิมพ์ตาลกุด, 2546 หน้า 784 บทที่ 2 สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More