การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อการหลุดพ้น MD 305 สมาธิ 5  หน้า 49
หน้าที่ 49 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอถึงจุดมุ่งหมายของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มุ่งมั่นสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ เพื่อการบรรลุนิพพานและพระอรหันต์ โดยมีการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมถะและวิปัสสนาที่ต้องทำควบคู่กันเพื่อการรู้แจ้ง ขอสรุปว่า การเจริญสมถะจะทำให้เกิดจิตที่สงบ สร้างฌานเพื่อเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนาที่ช่วยสำหรับการรู้ชัดในอริยสัจและลดอวิชชา

หัวข้อประเด็น

-จุดมุ่งหมายของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
-ความสัมพันธ์ระหว่างสมถะและวิปัสสนา
-หลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
-การหลุดพ้นจากทุกข์
-ความสำคัญของจิตและปัญญาในการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จุดมุ่งหมายสูงสุดของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ การหลุดพ้นจากทุกข์ ถึงความเป็น พระอรหันต์และบรรลุมรรคผลนิพพาน 2.3 ความสัมพันธ์ของสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2.3.1 สมถะและวิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้ง สมถะและวิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญ ที่บุคคลควรเจริญหรือทำให้เกิดขึ้นในตน ธรรมทั้ง 2 ประการนี้จะมาคู่กัน ในพระไตรปิฎกได้อธิบายถึงผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาไว้ดังนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม 2 อย่าง เป็นไฉน คือ สมถะ 1 วิปัสสนา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้” ในพุทธพจน์นี้ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักการของสมถะและวิปัสสนาว่า คือ การอบรมจิต หรือตัวของสมาธิ ส่วนวิปัสสนา คือ การอบรมปัญญา เป็นปัญญาในขั้นสูงที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา นอกจากนี้ ยังได้ กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถะว่าให้ผลคือละราคะ ซึ่งราคะในที่นี้หมายถึง ความติดใจยินดีใน อารมณ์ต่างๆ ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะเรื่องของกามเท่านั้น นั่นคือละราคะได้ ก็หมายถึง จิตสงบตั้งมั่น เป็น หนึ่งเดียว ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ต่างๆ ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา ทำให้ละอวิชชาได้ ดังได้ กล่าวไว้แล้วถึงผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาข้างต้น หลักปฏิบัติทั้ง 2 ประการนี้เป็นธรรมคู่กัน ท่าน เรียกว่า วิชชาภาคิยธรรม คือ เป็นธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา ทำให้เกิดความรู้แจ้งในอริยสัจ เป็นต้น 2.3.2 หลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องทำควบคู่กันไปจึงจะเป็นหนทางเพื่อการหลุดพ้นทุกข์ ละกิเลสอาสวะทั้งหลายได้ โดยใช้สมถะเพื่อทำให้จิตหยุดนิ่งเป็นสมาธิ จนเกิดฌานขั้นต่างๆ และใช้ฌาน เพื่อเป็นบาทแห่งวิปัสสนา สมถะจึงถือเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่วิปัสสนา ส่วนการ พิจารณาด้วยการใช้ความนึกคิดตรึกตรองเพื่อให้เห็นไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง ต่างๆ นั้น ย่อมเป็นอุปการะต่อการทำสมถะ หรือสมาธิให้เกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในสรรพสิ่ง * อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต, มก. เล่มที่ 33 ข้อ 275 หน้า 353 40 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More