ข้อความต้นฉบับในหน้า
และเมื่อใจหยุดเข้ากลางต่อไป ก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเอาใจหยุดเข้ากลางดวงธรรม
ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ จนเกิดดวงปฐมมรรคของกายมนุษย์ละเอียด เข้า
กลางต่อไป ก็จะเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง
กายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์โตขึ้นเป็น 3 เท่า เอาใจจรดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
ของกายทิพย์หยาบ จิตตกศูนย์ รวมกับดวงธรรมที่ฐานที่ 6 เป็นปฐมมรรคของกายทิพย์หยาบ
เข้ากลางดวงนี้ ผ่านดวงธรรมอีก 5 ดวง ดังกล่าวแล้ว จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด เอาใจหยุดไปที่ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ 7 ของกายทิพย์ละเอียด จนตกศูนย์รวมกับดวงธรรมกายทิพย์ละเอียดขนาดโตเป็น 4 เท่าฟองไข่แดง
ของไก่ เป็นดวงปฐมมรรคที่ฐานที่ 7 ของกายทิพย์ละเอียด ปฏิบัติต่อไปก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมหยาบ
ซึ่งมีดวงธรรมขนาดโตเป็น 5 เท่า เมื่อเกิดดวงปฐมมรรคและเข้ากลางผ่านดวงธรรม 5 ดวงดังกล่าวแล้ว
จะเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด มีดวงธรรมประจำกายโต 6 เท่า กายอรูปพรหมละเอียด หยาบ ดวงธรรม
ขนาดโตเป็น 7 เท่า และกายอรูปพรหมละเอียดโต 8 เท่า
กายภายในทั้ง 7 กาย นี้เป็นผลแห่งสมถะ หรือใจหยุดที่เกิดขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้พระมงคล
เทพมุนีนี้ยังได้อธิบายสภาวะของฌานในกายแต่ละกายไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่องสมาธิ ว่า
“ใจหยุดกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงใส พอถูกส่วนมีดวง
ผุดขึ้นมากลางดวง วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบ มีกายมนุษย์ละเอียด
อยู่กลางดวง ใจของกายมนุษย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น
กายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวเอง เกิดปีติชอบอกชอบใจ เต็มส่วนของ
ปีติ มีความสุขกายสบายใจ แล้วนิ่งเฉย เกิดแต่วิเวก เป็นปฐมฌานของกาย
มนุษย์ละเอียด ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจของกาย
มนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด
หยุดนิ่งกลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น พอถูกส่วนเข้าเกิดขึ้นอีกดวง เรียกว่า ทุติยฌาน
เข้าถึงกายทิพย์หยาบ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌาน
ใจของกายทิพย์ละเอียดขยายจากฌานที่ 2 ทุติยฌานเกิดดวงผุดขึ้นมาเป็น ฌาน
ที่ 3 ตติยฌาน เข้าถึงกายรูปพรหมหยาบ ใจของกายรูปพรหมละเอียดขยาย
จากตติยฌาน หยุดนิ่งกลางดวงถูกส่วนมีผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่สี่จตุตถ
ฌาน เข้าถึงกายอรูปพรหม เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ
จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ”
มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19,
2528 หน้า 187-189
บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี
DOU 53