คุณสมบัติของกัลยานมิตรในการเจริญสมาธิ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 80
หน้าที่ 80 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของกัลยาณมิตรในการพัฒนาการเจริญสมาธิ โดยเน้นบทบาทของครูบาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการสอนและให้คำแนะนำด้านการปฏิบัติธรรม มุ่งให้ผู้เริ่มต้นได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ถูกต้องเพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติ การมีครูบาอาจารย์ที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางจิตวิญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
-ความสำคัญของการเจริญสมาธิ
-บทบาทของครูบาอาจารย์
-การปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อติเรกบริขาร' อย่างหนึ่งไม่มีเลยหรือ” พระเถระผู้สหายรับว่า “ไม่มีเลย อาวุโส ตั้งเตียงก็เป็นของสงฆ์ เราก็เก็บเรียบร้อยแล้ว ของอะไร อื่นผมไม่มี จึงไม่จําเป็นต้องกลับวัดก่อน” อยู่ที่นั้น” พระเถระผู้มาจากชนบทจึงบอกว่า “แต่ไม้เท้าและกระบอกน้ำมัน รองเท้า ถลกบาตรของผมยังมี พระเถระผู้สหายกล่าวว่า “อาวุโส! ท่านมาพักอยู่วันเดียว ยังมีของมาไว้ ถึงเพียงนี้เชียวหรือ” พระเถระผู้มาจากชนบทรับว่าอย่างนั้น มีจิตเลื่อมใสไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ สำหรับพระภิกษุอย่างท่านแล้ว การอยู่ป่าย่อมเป็นไปได้ทุกแห่ง ขอท่านจงอยู่ ในถูปารามนี้เถิด อย่าต้องไปชนบทกับผมเลย” ดังนี้แล้ว รุ่งขึ้นก็ถือบาตรจีวรกลับไปรูปเดียว จากเรื่องนี้ มหาปลิโพธใดๆ ย่อมไม่มีแก่พระเถระผู้อยู่ในถูปาราม เพราะท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ เที่ยวไปประดุจนกน้อยในอากาศ 4.3 เข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กัมมัฏฐาน ในการเจริญสมาธิโดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มต้น การได้รับเข้าไปหาครูบาอาจารย์ที่สามารถแนะนำ การปฏิบัติให้ได้ถือว่ามีส่วนสำคัญมาก เพราะความสำเร็จโดยตรงจากการเจริญสมาธิส่วนใหญ่ เนื่องมา จากอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ สามารถที่จะแนะนำแนวทางในการเจริญสมาธิ ดังนั้น บุคคลผู้ตั้งใจเจริญ สมาธิควรเข้าไปหาครูบาอาจารย์ที่จะให้คำแนะนำและอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับการเจริญสมาธิให้บริบูรณ์ เสียก่อน แล้วจึงจะเริ่มปฏิบัติต่อไป 4.3.1 คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ผู้ที่สามารถสอนกัมมัฏฐาน และคอยเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้เจริญสมาธิได้ ต้องประกอบด้วย กัลยาณมิตตธรรม 7 ประการ คือ 1. ปิโย หมายถึง บุคคลผู้มีความน่ารักน่าเลื่อมใส เป็นที่ชื่นชมของทุกคน เพราะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นนักให้ ให้ทั้งปัจจัย 4 ความรู้และความปลอดภัย เป็นผู้มีปกติยิ้มแย้มแจ่มใสและอารมณ์ดีอยู่เสมอ 1 สิ่งของเครื่องใช้ ที่นอกเหนือจากอัฏฐบริขาร J ที่ บ า ที่ 4 กิ จ เ บื้ อ ง ต้ น ก่ อ น ก า ร เ จ ริ ญ กัมมัฏ ฐ า น DOU 71
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More