จริตและการปฏิบัติกัมมัฏฐาน MD 305 สมาธิ 5  หน้า 94
หน้าที่ 94 / 114

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 ของเนื้อหาเกี่ยวกับจริตและการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับจริตซึ่งแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต และพุทธิจริต โดยอธิบายถึงสาเหตุการเกิดจริตต่างๆ และวิธีสังเกตลักษณะของจริตแต่ละประเภท นอกจากนี้ยังนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคู่จริตที่มีลักษณะขัดแย้งกัน เช่น ราคจริตคู่กับสัทธาจริต โดยมีรายละเอียดการปฏิบัติกัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับแต่ละจริต รวมถึงวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะและประเภทจริตได้ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทจริต
-สาเหตุของจริต
-ลักษณะสังเกตจริต
-คู่จริต
-กัมมัฏฐานที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. จริต คือ พื้นฐานนิสัยที่อยู่ในจิตใจมนุษย์ มีทั้งหมด 6 ประเภท คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต พุทธิจริต 2. การที่คนมีจริตต่างกัน เพราะเหตุแห่งสภาพของจิตในขณะที่ทำกุศลในชาติปางก่อน มีความนึกคิดต่างๆ กัน อีกทั้งอาจเกิดขึ้นมาจากคติในภพชาติก่อน 3. ลักษณะที่เป็นเครื่องให้สังเกตจริตว่าเป็นจริตใด มี 6 ประการ คือ อิริยาบถ กิจจะ โภชนะ ทัสสนะ ธัมมปวัตติ 4. จริตทั้ง 6 จะมีคู่เป็นกุศล-อกุศล ตรงข้ามกัน คือ ราคจริตคู่กับสัทธาจริต โทสจริตคู่กับ พุทธิจริต โมหจริตคู่กับวิตกจริต 5. กัมมัฏฐานที่เหมาะกับแต่ละจริต คือ ราคะจริต ใช้อสุภะและกายคตาสติ โทสะจริต ใช้พรหมวิหารและวรรณกสิณ โมหจริตและวิตกจริตใช้อานาปานสติ สัทธาจริตใช้อนุสติ 6 พุทธิจริต ใช้มรณานุสติ อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายประเภทและลักษณะของจริตได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายเหตุที่ทำให้คนมีจริตต่างกัน 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะที่เป็นเครื่องสังเกตจริตแต่ละจริต 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายคู่แห่งจริต 5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกกัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับแต่ละจริต บทที่ 5 จ ริ ต ก บ ก า ร ป ฏิ บั ติ ก ม ม ฏ ฐ า น DOU 85
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More