ข้อความต้นฉบับในหน้า
มีมารยาทงาม ทำให้ใครๆ เห็นก็รู้สึกรัก ประดุจพระจันทร์วันเพ็ญ ชุ่มเย็นชวนมอง
2. ครุ หมายถึง บุคคลผู้ที่น่าเคารพ น่าเกรงใจ เพราะมีศีล สมาธิและการถือธุดงค์ มีความ
อ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวได้เหมาะสม เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้ทุกเมื่อ ประดุจขุนเขาตระหง่านมั่นคง
3. ภาวนิโย หมายถึง บุคคลผู้น่าสรรเสริญเทิดทูน เพราะมีจิตใจเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ 4
คือ ไม่มีความลำเอียงในบรรดาสหธรรมิกและลูกศิษย์ เหมือนดวงอาทิตย์เป็นใหญ่ในท้องฟ้า
4. วตฺตา หมายถึง บุคคลผู้ฉลาดพร่ำสอน สามารถอบรมลูกศิษย์ให้ดีได้ และคอยปกป้อง
ลูกน้อยให้ปลอดภัย อุปมาเหมือนแม่ไก่สอนลูกให้หาอาหาร
5. วจนกฺขโม หมายถึง บุคคลผู้อดทนต่อถ้อยคำ ยอมรับคำตักเตือนจากสหธรรมิกและ
ลูกศิษย์ มีนิสัยไม่เอาเรื่องใคร อุปมาดั่งแผ่นดินไม่สะทกสะท้านหวั่นไหวในของหอมและของเหม็นที่
ราดรด
6. คมภีรญฺจ กฏ กตฺตา หมายถึง บุคคลผู้สามารถแถลงเรื่องล้ำลึก คือสามารถถ่ายทอดธรรมะ
ที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจให้เป็นเรื่องง่ายเข้าใจได้ชัดเจน เช่น ขันธ์ 5 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 อุปมา
เหมือนจุดไฟในที่มืด หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย หมายถึง บุคคลผู้ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม เพราะมีความมั่นคง
สม่ำเสมอในธรรม ไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แม้เพียงครั้งเดียว อุปมาเหมือนตาชั่งมาตรฐาน
คงเส้นคงวา
คุณธรรมทั้ง 7 ประการดังกล่าวนี้ สำคัญมากต่ออาจารย์ผู้สอนภาวนา หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป
ก็ไม่อาจจะได้ชื่อว่ากัลยาณมิตรที่สมบูรณ์
4.3.2 ความสำคัญของกัลยาณมิตร
ในพระไตรปิฎกพระพุทธองค์ทรงแสดงถึงความสำคัญของกัลยาณมิตรไว้ เป็นต้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุ
ให้อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรดี”
ในทุติยอัปปมาทสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ครั้งหนึ่ง พระอานนท์
ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
- สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่มที่ 30 ข้อ 165 หน้า 91
72 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น