สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 38
หน้าที่ 38 / 114

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงแนวคิดหลักของสมถกัมมัฏฐานซึ่งเป็นการฝึกจิตเพื่อให้เกิดสมาธิและฌาน รวมถึงวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เน้นการอบรมปัญญาเพื่อรู้แจ้งในสภาวะของสังขาร ซึ่งทั้งสองมีความสัมพันธ์กันและช่วยนำไปสู่การหลุดพ้นจากกิเลส. นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงวัตถุประสงค์ในการศึกษาศาสนาและเหตุการณ์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น พระเทวทัตและมาตรฐานสามัญญผลสูตรซึ่งมีการพูดถึงในคัมภีร์.

หัวข้อประเด็น

-สมถกัมมัฏฐาน
-วิปัสสนากัมมัฏฐาน
-พระพุทธศาสนา
-จิตสงบ
-การปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. สมถกัมมัฏฐานเป็นวิธีการฝึกจิต เพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิจนกระทั่งจิตปราศจากนิวรณ์ เข้าถึงฌาน มีวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติในคัมภีร์ 40 วิธี คือ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสติ 10 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน อรูปกัมมัฏฐาน 2. วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นวิธีการอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของ สังขาร เป็นวิธีการที่กำจัดกิเลสอย่างละเอียดที่เรียกว่า สังโยชน์ และอนุสัย ส่งผลให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยมีอารมณ์เพื่อใช้พิจารณาคือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 3. สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นหลักธรรมที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่ ความรู้แจ้ง และความหลุดพ้นจากกิเลส วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงความสำคัญของแว่นแคว้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประดิษฐาน พระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก 2. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงเหตุแห่งความริษยาของพระเทวทัตถึงกับยุยงให้อชาตศัตรูราชกุมาร ทรงกระทำปิตุฆาต 3. เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงที่มาแห่งสามัญญผลสูตร บทที่ 2 สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา DOU 29
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More