ข้อความต้นฉบับในหน้า
(1) การพิจารณาไตรลักษณ์
การพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ของพระมงคลเทพมุนี เป็นการเห็นด้วยธรรมจักขุ หรือตาของ
พระธรรมกาย รู้ด้วยญาณของพระธรรมกาย คือ ใช้ธรรมจักขุและญาณของพระธรรมกายพิจารณาดู
ขันธ์ 5 ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งพระมงคลเทพมุนีได้อธิบายลักษณะของการเห็น
ที่เกิดขึ้นว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ 5
รูป จะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้ารวมกันเป็น
ก้อนเป็นชิ้น เห็นด้วยตา เช่น ร่างกายมนุษย์ และสัตว์ ที่เรียกว่ารูป เพราะเหตุว่า เป็นของที่จะต้อง
แตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด
ย่อมแตกสลายไป พิจารณาละเอียดเข้า จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา สักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้ว
ก็ดับไป
ตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิด เห็นดับติดกันไป คือ เห็นเกิดดับๆ เกิดดับๆ คู่กันไป ที่เห็นว่า
เกิดดับๆ นั้นเหมือนฟองน้ำ ที่เมื่อเราเอาของฝาด เช่น เปลือกนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ เบื้องต้นจะเห็นเป็น
น้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็วๆ จนน้ำแตกออก เกิดเป็นฟองน้ำ จะเห็นในฟองนั้น เป็นเม็ดเล็กๆ
จำนวนมากติดต่อกันเป็นพืด เมื่อเราดูต่อไป จะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้น พอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ
ไม่อยู่นานเลย การเห็นเช่นนี้ จึงจะเป็นเหตุให้สามารถปล่อยอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก 4 กองนั้นก็ทำนองเดียวกัน
ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ 5 เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไป
ปืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ 5 เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้ว มันก็ต้อง
แก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย
เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามี ผมหงอกเป็นต้น
ถ้าเราขึ้นขันธ์ 5 ตะเกียกตะกายหายามาย้อมมันไว้ จึงต้องเป็นทุกข์ ลำบาก ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมัน
ก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์อีกต่อไป
สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังยืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขึ้นธรรมดาของขันธ์ 5 นี้
เรียกว่า อุปาทาน
ยกตัวอย่าง พระปัญจวัคคีย์ตอบคำถามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสถามว่า เมื่อขันธ์ 5
มีอาการแปรผันไปเป็นธรรมดา แก่ เจ็บ ตายเช่นนี้แล้ว ขันธ์ 5 นี้ จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม
ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้ว เป็นทุกข์หรือเป็นสุข
58 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ถ วิปัสสนากัมมัฏฐาน