ข้อความต้นฉบับในหน้า
“ความเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดีมีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์”
พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์”
มีตัวอย่างการได้กัลยาณมิตรที่ดีที่จะช่วยให้การปฏิบัติธรรมดี คือ ในครั้งหนึ่งพระเมฆิยะที่ซึ่ง
กำลังทำหน้าที่อุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับพุทธานุญาตให้ไปบิณฑบาตรที่มีหมู่บ้านชันตุ ในขณะ
เดินทางกลับได้พบสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์ใกล้ๆ กับแม่น้ำแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะไปเจริญ
สมาธิที่นั่นได้หรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้รอจนกว่าจะมีพระภิกษุมาดูแลพระองค์แทน แต่หลังจากพระ
เมฆยะทูลขอ 3 ครั้ง พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต พระเมฆิยะไปที่นั้นและนั่งเจริญสมาธิใต้ต้นมะม่วง
ต้นหนึ่ง แต่พระเมฆิยะรู้สึกประหลาดใจที่พบอกุศลวิตกขึ้นในจิตอย่างไม่ขาดสาย จึงกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์
และกราบทูลถึงความล้มเหลวในการทำสมาธิ พระพุทธองค์ทรงอธิบายถึงเหตุให้ผู้บำเพ็ญเพียรที่ยังมี
สมาธิไม่แก่กล้า จะสามารถบรรลุธรรมจนหลุดพ้นได้ จะต้องประกอบด้วยธรรม 5 ประการคือ
1. ได้กัลยาณมิตร คือ มิตรดี สหายดี
2. ความบริสุทธิ์แห่งศีล
3. เป็นผู้ได้การพูดคุยที่สมควร เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
ปรารภความเพียร เป็นต้น
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร บากบั่น ไม่ทอดธุระเพื่อละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม
5. การได้รับความรู้ที่จะนำไปสู่วิปัสสนา
พระพุทธองค์ทรงอธิบายต่อว่า ผู้ที่มีข้อแรก คือ กัลยาณมิตร จะสามารถมี 4 ข้อที่เหลือในไม่ช้า
ในเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่จะเจริญสมาธิ จำต้องอาศัยอาจารย์
ที่เป็นกัลยาณมิตรที่จะสามารถพิจารณาสภาพจิตและนิสัยของตน เพื่อจะได้อธิบายเทคนิควิธีการปฏิบัติ
ให้เหมาะสมกับตน
4.3.3 การเข้าหากัลยาณมิตร
ดังได้กล่าวแล้วว่า กัลยาณมิตรมีความสำคัญต่อผู้เจริญสมาธิ บุคคลผู้จะเจริญสมาธิควรเข้าไป
หากัลยาณมิตร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านได้ให้หลักในการเข้าหากัลยาณมิตรไว้ว่า “ในช่วงเวลาที่พระ
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 24 ข้อ 382 หน้า 482
* อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต, มก. เล่มที่ 37 ข้อ 207 หน้า 708
บทที่ 4 กิ จ เ บื้ อ ง ต้ น ก่ อ น ก า ร เ จ ริ ญ กัมมัฏฐาน DOU 73