กายธรรมและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 66
หน้าที่ 66 / 114

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอการเข้าถึงกายธรรมในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่พระโสดาไปจนถึงพระอรหัต อีกทั้งยังพูดถึงความสำคัญของวิปัสสนาในการปฏิบัติ ตามคำสอนของพระมงคลเทพมุนี ที่ชี้ให้เห็นว่าการเข้าถึงพระอรหัตคือจุดหมายสูงสุดที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกิเลส และการดำรงอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างมีคุณค่า สิ่งนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในธรรมะอย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-กายธรรมในพระพุทธศาสนา
-วิปัสสนาและสมาธิ
-หลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี
-ผลของการปฏิบัติธรรม
-การหลุดพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระอรหัต เมื่อจิตของเราเข้าถึงขั้นใด ก็อาศัยศึกษาจากภูมิจิตชั้นนั้นๆ ท่านใช้คำว่า เอากายนั้นๆ เป็นแบบ เข้าถึงกายธรรมยึดกายธรรมเป็นแบบ รูปเหมือนกับพระปฏิมากร ที่เขาปั้นไว้ในโบสถ์วิหาร การเปรียญ เขาทำแบบไว้อย่างนั้น เข้าไปถึงกายธรรมละเอียด ยึดกายธรรมละเอียดเป็นแบบ ยึดกายธรรมพระโสดาเป็นแบบ ยึดกายธรรมพระโสดาละเอียดเป็นแบบ ยึดกายธรรมพระสกิทาคาเป็นแบบ ยึดกายธรรมพระสกิทาคาละเอียดเป็นแบบ ยืดกายธรรมพระอนาคาเป็นแบบ เข้าไปถึง กายธรรมพระโสดา เข้าไปถึง กายธรรมพระโสดาละเอียด เข้าไปถึงกายธรรมพระสกิทาคา เข้าไปถึงกายธรรมพระสกิทาคาละเอียด เข้าไปถึงกายธรรมพระอนาคา เข้าไปถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด ยืดกายธรรมพระอนาคาละเอียดเป็นแบบ เข้าไปถึงกายธรรมพระอรหัต ยืดกายธรรมพระอรหัตเป็นแบบ เข้าไปถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ยึดกายธรรมพระอรหัตละเอียดเป็นแบบนี้ เป็นหลักฐานในทางพระพุทธศาสนา 3.2.3 ผลของวิปัสสนา วิปัสสนา ในแนวทางการปฏิบัติ เมื่อสิ้นเส้นทางของสมถะ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงพระธรรมกายโคตรภู ซึ่งนั่นถือว่า เป็นการเริ่มต้นวิปัสสนา และจบลงที่กายธรรมพระอรหัต ตามคำของพระมงคลเทพมุนีที่ว่า ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ ขั้นวิปัสสนา ตั้งแต่กายธรรมโคตรภู เมื่อถึงพระอรหัตนี้แล้ว หลุดจากกิเลสหมด ไม่มีกิเลสเหลือเลย เสร็จกิจใน พระพุทธศาสนา ทั้งสมถวิปัสสนา ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ดังคำที่ท่านกล่าวว่า “นี่ต้องนับว่าวิชชาวัดปากน้ำ วิชชาสมถะวิปัสสนาเดินให้ถูกแนวนั้นทีเดียว เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป ยิ่งใหญ่ไพศาลนับ ประมาณไม่ได้ จะไปพบพระพุทธเจ้า พระนิพพาน พระอรหันต์ ก็รู้ตัวทีเดียว ว่า อ้อ! เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ได้รู้จักของจริง เห็นของจริงอย่างนี้ ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำป้อนข้าวมา อุ้มท้องมาไม่หนักเปล่า แม้บุคคลที่จะทูนไว้ ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่เมื่อยเปล่า ไม่หนักเปล่า” * มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ เทคนิค 19, 2528 หน้า 285 * มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ:เทคนิค 19, 2528 หน้า 432 บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี DOU 57
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More