ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตอบว่าเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า
ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน
ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า
อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน
ตัณหานั่นเอง ได้แก่ กามตัณหา ความทะยานอยากเกี่ยวด้วยอารมณ์ 6 มีรูป เป็นต้น
ภวตัณหา ความทะยานอยาก เป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร
วิภวตัณหา ความทะยานอยาก เป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ
เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี
แต่ลำพังขันธ์ 5 อย่างเดียว ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกขา รวมความก็ว่า
ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้ หมดทุกข์
ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่องจะมีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้อง
ปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงเหลือแต่ธรรมกายเท่านั้น
นี่เป็นตัวอย่างการเห็นไตรลักษณ์ในขันธ์ 5
(2) การบรรลุมรรคผล
เมื่อได้เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ใช้ตาของพระธรรมกายพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์
ทั้งหยาบ และละเอียดให้เห็นจริงว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษย์ว่าเป็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง
ไม่คงทนอยู่ที่เปลี่ยนแปรผันไป เห็นว่าขันธ์ เราจะบังคับให้เป็นสุข ไม่ให้เป็นทุกข์บังไม่ได้ ไม่อยู่ในบัญชา
ของใคร การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยตาของพระธรรมกาย รู้ด้วยญาณ เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายแล้วว่า
กายมนุษย์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว ก็รู้เห็นเหตุให้เกิด คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เห็น
เหตุเกิด และเหตุดับ รู้เห็นถึงนิโรธ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับได้ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เห็นด้วยตา
ธรรมกาย รู้ด้วยญาณของธรรมกาย ถูกส่วนธรรมกายโคตรภูก็จะเปลี่ยนเป็นกายธรรมพระโสดา
เมื่อตาธรรมกายพระโสดา ญาณธรรมกายของพระโสดาเห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เห็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ในกายทิพย์ เห็นทุกข์เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์
เห็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในกายทิพย์ละเอียดเข้าแล้ว ถึงขนาดเข้า ก็จะเปลี่ยนจากพระโสดาเป็น
พระสกทาคามี
ตาธรรมกายพระสกทาคามีทั้งหยาบและละเอียด เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
บทที่ 3 สมถะและวิปัสสนาตามหลักคำสอนของพระมงคลเทพมุนี DOU 59