ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปัญญา เป็นคัมภีร์ที่ได้รับการยกย่องว่าได้สรุปสาระสำคัญของคำสอนในพระพุทธศาสนาไว้ ได้ใช้คำว่า
กัมมัฏฐานนี้ในวิสุทธิมรรคว่า หมายถึง อารมณ์กัมมัฏฐาน 40 อย่าง เพื่อการบรรลุสมาธิ
พระอนุรุทธเถระผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ย่อเนื้อความในอภิธรรมทั้ง
7 คัมภีร์ไว้ ใช้คำว่ากัมมัฏฐานนี้ เพื่ออธิบายถึงอารมณ์และวิธีเจริญสมาธิและวิปัสสนา
ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ อธิบายคำว่า กัมมัฏฐาน ไว้ว่า
ที่ตั้งของการกระทำ หมายถึง อารมณ์ของการอบรมจิตเพื่อให้ใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง
การกระทำอันเป็นที่ตั้ง (ของความสุขพิเศษ) หมายถึง การเจริญภาวนา
ในคัมภีร์อภิธัมมัตถภาวินี อธิบายความหมายของคำว่า กัมมัฏฐานไว้ 2 ประการว่า
กัมมัฏฐาน คือ อารมณ์อันเป็นที่ตั้งของการกระทำ เพราะเป็นที่ดำเนินไปแห่งการเจริญภาวนา
ทั้งสองอย่าง
ยิ่งๆ ขึ้นไป
กัมมัฏฐาน คือ ลำดับภาวนาอันเป็นเหตุใกล้ของการกระทำ เพราะเป็นเหตุใกล้ของการบำเพ็ญเพียร
(1) กัมมัฏฐานหมายถึงอารมณ์
ดังได้กล่าวแล้วว่า กัมมัฏฐานมีความหมายได้ 2 อย่างคือ อารมณ์และวิธีเจริญสมาธิ สำหรับ
คำว่า กัมมัฏฐานที่หมายถึงอารมณ์นี้ โดยปกติจะบ่งถึงวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งใจหรือความคิดไปจดจ่ออยู่
โดยใช้อารมณ์นั้นเป็นสิ่งสนับสนุนหรือเป็นกัมมัฏฐาน ในทางจิตวิทยาคำนี้จะบ่งถึงวัตถุที่เกี่ยวเนื่อง
กับความรู้สึก และความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งเมื่อมีการสัมผัสกันแล้ว ย่อมก่อให้เกิดขบวนการแห่ง
การรู้แจ้งขึ้น เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้ว คำนี้หมายถึงสิ่งภายนอกอันใดอันหนึ่ง ซึ่งปรากฏขึ้นทางประสาท
ทั้ง 5 ของมนุษย์ และหมายถึงความประทับใจ ซึ่งเกิดจากประสาทสัมผัสกับสิ่งภายนอกนั้น ซึ่งความหมาย
หลังนี้ ให้ความสนับสนุนแก่จิตและทำให้จิตยึดเหนี่ยวแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามหลักคำสอนใน
คัมภีร์อภิธรรม จิตจะไม่เกิดกระบวนการรับรู้ จนกว่าจะได้รับการกระตุ้นจากวัตถุภายนอกที่มากระทบ
ประสาททั้ง 5 วัตถุภายนอกเหล่านี้เรียกว่า อารมณ์ เป็นวัตถุที่สนับสนุน ยึดเหนี่ยวจิต ดังนั้นอารมณ์จึง
บ่งถึงวัตถุภายนอกซึ่งตารับรู้และภาพแทนสิ่งเหล่านั้น หรือความประทับใจต่อสิ่งเหล่านั้นซึ่งเกิดขึ้น
ในจิต และกระตุ้นให้ขบวนการคิดทำงาน
* สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 34
* สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 34
* อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี, พระคันธสาราภิวงศ์ แปล, สำนักพิมพ์ตาลกุด, 2546 หน้า 760
* สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า35
6 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น