การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท 4 MD 305 สมาธิ 5  หน้า 26
หน้าที่ 26 / 114

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา ภิกษุมีหน้าที่ในการสำรวมใจและไม่ประมาท โดยมีวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้จิตตั้งมั่น เช่น การระมัดระวังด้วยจักขุนทรีย์ โดยไม่แส่ไปในรูปต่าง ๆ และสำรวมด้วยลิ้นและใจ ซึ่งทำให้เกิดความสุขและสงบ เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมก็ตั้งอยู่ เรื่องนี้ดูได้จากการเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ สมาธิจากฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ และวิมังสา โดยทั้ง 4 วิธีนี้มีความแตกต่าง และสำคัญต่อการบรรลุความมีสภาพเป็นหนึ่งแห่งจิต

หัวข้อประเด็น

-สมาธิ
-อิทธิบาท 4
-การสำรวมจิต
-พระพุทธศาสนา
-คุณค่าของสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร ภิกษุ สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุนั้น มีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิด ปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวม ชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวม มนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แต่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุมีจิต ไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อ จิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น ถึง ความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้” 1.5.2. การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท 4 คือ 1 สมาธิที่เกิดจากฉันทะ 2 สมาธิที่เกิดจากวิริยะ 3 สมาธิที่เกิดจากจิตตะ 4 สมาธิที่เกิดจากวิมังสา สมาธิทั้ง 4 ประการนี้มีความแตกต่างกันดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า “ถ้าภิกษุผู้ยึดความพอใจเป็นใหญ่ ได้บรรลุสมาธิคือบรรลุความมีสภาพเป็น หนึ่งแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ถ้าภิกษุผู้ยึดความเพียรเป็นใหญ่ได้ บรรลุสมาธิ คือ บรรลุความมีสภาพเป็นหนึ่งแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ถ้าภิกษุผู้ยึดจิตเป็นใหญ่ได้บรรลุสมาธิคือ บรรลุความมีสภาพเป็นหนึ่งแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า จิตตสมาธิ ถ้าภิกษุผู้ยึดการสอบสอนเป็นใหญ่ได้บรรลุสมาธิ คือ บรรลุความมีสภาพเป็นหนึ่งแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ” *สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่มที่ 28 ข้อ 144 หน้า 166 * อภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่มที่ 78 หน้า 198-204 บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 17
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More