การเจริญสมาธิวิธีธรรมชาติ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 23
หน้าที่ 23 / 114

สรุปเนื้อหา

การเจริญสมาธิแบบธรรมชาติเป็นการเปลี่ยนแปลงจิตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยเริ่มจากความปราโมทย์ที่เกิดจากการทำความดี ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สงบ และนำไปสู่อารมณ์ที่ดีขึ้นจนเกิดสมาธิขึ้นได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องมีการฝึกฝนที่ซับซ้อน หลักการนี้มีรากฐานจากพระไตรปิฎกที่ได้กล่าวถึงการรักษาศีลที่ส่งผลต่อการเกิดสมาธิอย่างเป็นธรรมชาติ ในการดำเนินชีวิตประจำวันสามารถนำวิธีนี้ไปปรับใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกศาสนา การรักษาศีลจะมีประโยชน์ต่อความสงบใจและนำไปสู่การหลุดพ้นตามหลักธรรม

หัวข้อประเด็น

-การเจริญสมาธิ
-ความสำคัญของศีล
-ปราโมทย์และปีติ
-การบรรลุสมาธิ
-การปล่อยวางและผ่อนคลาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.5.1 การเจริญสมาธิวิธีธรรมชาติ เป็นหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงหลักการของจิตที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับจนกระทั่งเกิด สมาธิขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงสภาวะจิตที่เริ่มเกิดจากมีปราโมทย์ หรือเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจ จาก การทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความอิ่มใจ (ปีติ) ร่างกายจึงผ่อนคลาย สงบ จิตใจสบาย (ปัสสัทธิ) มีความสุข และสมาธิก็เกิดขึ้นตามลำดับดังนี้ ปราโมทย์ ปัสสัทธิ → สุข สมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นแบบธรรมชาตินี้ หลายท่านคงเคยได้ประสบด้วยตนเอง ในยามที่รู้สึกผ่อนคลาย หรือปล่อยวางเรื่องราวภารกิจต่างๆ หรือได้ทำคุณความดีบางอย่าง จนกระทั่งเกิดความอิ่มเอมใจ แล้วจิต ก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นโดยที่ไม่ต้องมีวิธีการฝึกปฏิบัติอะไรเป็นพิเศษ จึงถือว่าเป็นวิธีการที่ง่ายและเหมาะสม กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงเหตุที่มาของความปราโมทย์ อันเป็นต้นทางแห่งสมาธิไว้ดังต่อไปนี้ (1) เกิดจากการประพฤติปฏิบัติตั้งมั่นอยู่ในศีล และด้วยศีลที่รักษาดีแล้ว ย่อมทำให้เกิด ความปราโมทย์ ดังนี้ “วินัย ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมย่อมมีเพื่อ ประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือนร้อนใจย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ความปราโมทย์, ความปราโมทย์ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ปีติ (ความอิ่มใจ) ปีติ ย่อมมี เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ (ความสงบ), ปัสสัทธิย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ ความสุข, ความสุข ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ (ความตั้งใจมั่น) สมาธิ ย่อม มีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นตามเป็นจริง), ยถาภูต ญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย), นิพพิทา ย่อม มีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอกกิเลส), วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ วิมุตติ (ความหลุดพ้น) วิมุตติ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความ รู้เห็นความหลุดพ้น), วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทา ปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อมิได้)” วินัยปิฏก อรรถกถา, ม.ก. เล่ม 1 หน้า 171 14 DOU ส ม า ธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More