การเลือกอาจารย์ในการปฏิบัติธรรม MD 305 สมาธิ 5  หน้า 83
หน้าที่ 83 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางในการเลือกอาจารย์สำหรับการปฏิบัติธรรม โดยแนะนำให้ค้นคว้าพระไตรปิฎกก่อน เพื่อเป็นแนวทางเลือกสำนักที่เหมาะสม และการพิจารณาความประพฤติของอาจารย์ โดยยกตัวอย่างคำสอนของหลวงพ่อทัตตชีโว และเน้นความสำคัญของการมีความรู้พื้นฐานทางพระธรรมในการตัดสินใจ

หัวข้อประเด็น

-การเลือกอาจารย์
-ความสำคัญของพระไตรปิฎก
-การพิจารณาสำนักปฏิบัติ
-แนวทางการปฏิบัติธรรม
-การเจริญกัมมัฏฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัมมาพุทธเจ้า ทรงพระชนม์อยู่ พระกัมมัฏฐานที่ได้รับจากอาจารย์นั้นถือว่าได้รับมาอย่างดี แต่เพราะ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เราจึงควรรับพระกัมมัฏฐานจากพระอรหันต์ และจากพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุฌานที่ 4 และฌานที่ 5 โดยวิธีเจริญพระกัมมัฏฐาน และจากผู้ได้บรรลุพระอรหันต์โดยการเจริญวิปัสสนาบนพื้นฐาน คือฌาน ถ้าไม่มีบุคคลเช่นนั้น เราควรไปหาบุคคลต่อไปนี้ตามลำดับ คือ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระ โสดาบัน เมื่อไม่มีบุคคลเหล่านี้เราควรไปหาผู้ที่ได้บรรลุฌานแล้ว หรือไปหาอาจารย์ผู้รู้พระไตรปิฎก สองปิฎก หรือแม้ปิฎกเดียว เมื่อไม่สามารถพบบุคคลเช่นนั้น เราควรไปหาบุคคลผู้สามารถท่องจำนิกายหนึ่งใน บรรดานิกายทั้งหลายพร้อมด้วยอรรถกถาของนิกายนั้น และบุคคลผู้คู่ควรแก่ความนับถือ ผู้อยู่บนเส้นทาง แห่งความเจริญ ถ้าบุคคลเช่นนั้นอยู่ในอารามเดียวกัน โดยบังเอิญก็เป็นการดียิ่ง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น เราควรไป แสวงหาเขา ศิษย์ควรใช้ชีวิตอยู่ในอารามที่พบอาจารย์นั้นเป็นเวลาหลายวัน และหลังจากทำหน้าที่ของ ศิษย์ต่ออาจารย์แล้ว ควรขอพระกัมมัฏฐานจากอาจารย์ผู้มีลักษณะและนิสัยที่เหมาะสมที่สุด 4.3.4 แนวทางการเลือกอาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ในการหาครูบาอาจารย์ที่มีลักษณะดังที่ได้กล่าวแล้ว อาจจะต้องอาศัยเวลาและการพิจารณา อย่างมาก พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้ให้แนวทางในการเลือกพระอาจารย์ หรือสำนักในการ ปฏิบัติธรรม พอเป็นหลักง่ายๆ ไว้ว่า “ก่อนที่จะเลือกสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าจะให้ดีควรจะหาความรู้จากพระไตรปิฎกเสียก่อน เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติต่อไปในวันข้างหน้า และเป็นหลักในการเลือกสำนักด้วย เพราะว่าพระไตรปิฎกนั้น ได้รวบรวมคำสอนภาคทฤษฎีเอาไว้อย่างเรียบร้อยบริบูรณ์ เมื่อมีความรู้ขั้นพื้นฐานจากพระไตรปิฎกแล้ว จากนั้นจึงค่อยไปเลือกสำนักปฏิบัติ คราวนี้ ในการเลือกสำนักปฏิบัตินั้น ก็มีวิธีเลือกง่ายๆ ให้ดูเจ้าสำนักเป็นเกณฑ์ว่า เจ้าสำนักนั้น มีความประพฤติ มีข้อปฏิบัติถูกต้องตามพระไตรปิฎกที่เราเรียนมาหรือไม่ ถ้าท่านมีความประพฤติมีการ ปฏิบัติเรียบร้อยบริบูรณ์ดีงาม สมกับที่เราได้อ่านมาจากพระไตรปิฎกแล้วก็เลือกสำนักนั้นแหละเป็นสำนัก ที่เราควรจะมอบกายถวายชีวิต ให้ท่านอบรมเป็นกัลยาณมิตรเคี่ยวเข็ญกันต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วโอกาสที่เราจะได้เข้าไปสนทนา ได้เข้าไปใกล้ชิดกับเจ้าสำนักต่างๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน เพราะยิ่งเป็นสำนักใหญ่ เจ้าสำนักท่านก็มีงานมีภาระรับผิดชอบมาก หลวงพ่อขอแนะนำวิธีเลือกสำนักอีกวิธีหนึ่ง คือ ลองศึกษาความประพฤติ การปฏิบัติจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด ของท่าน จะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม ถ้าเป็นไปตามหลัก เกณฑ์ 6 ประการนี้แล้ว ก็มอบกายถวายชีวิต เข้าไปเป็นลูกศิษย์ได้เลย 74 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More