สติสัมปชัญญ์และจริตในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 108
หน้าที่ 108 / 114

สรุปเนื้อหา

สติสัมปชัญญ์หมายถึงความระมัดระวังตัวในการทำสิ่งต่างๆ ทำให้จิตใจตื่นตัวตลอดเวลา โดยที่ต้องหมั่นสร้างสมอบรมคุณงามความดี เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อให้ได้พบกับความสุข และพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร. จริตมีทั้งหมด 6 อย่าง จัดแบ่งเป็น 3 คู่ที่มีความเสมอภาคกัน ได้แก่ ราคจริตกับสัทธาจริต, โทสจริตกับพุทธิจริต และโมหจริตกับวิตกจริต. การเข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของจริตทั้ง 6 จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-สติสัมปชัญญ์
-การสร้างสมอบรมคุณงามความดี
-จริตในพระพุทธศาสนา
-การพ้นทุกข์
-นิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สติสมฺปชญญ์ เป็นคนระวังตัว จะทำอะไรก็คิดหน้าคิดหลังประกอบไปด้วย ชาคริยานุโยโค ส่เวโค โยนิโสปธานํ สติสัมปชัญญะในที่ทุกสถานและในกาลทุกเมื่อ เป็นคนไม่มีความเกียจคร้าน หมั่นประกอบความเพียร มีจิตใจตื่น อยู่เป็นนิตย์ในกิจที่ดีงาม มักเกิดความสังเวชใจ เกิดความเบื่อหน่ายในกิริยาที่ตนจะต้อง ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร เห็นทุกข์โทษภัยในการที่ตนจะต้อง ประสบกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปโดยไม่มีวันสิ้นสุด ปรารถนาที่จะพ้นจากกองทุกข์ จึงหมั่นประกอบความเพียร โดยเหมาะ โดยควร คือ หมั่นสร้างสมอบรมคุณงามความดี ให้เกิดมีขึ้นกับตนโดย การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อให้ได้ประสบคติที่ดีงามในภพชาติเบื้องหน้าต่อไป จนกว่าจะ เข้าถึงพระนิพพานอันเป็นแดนบรมสุข ปราศจากทุกข์ โดย ประการทั้งปวง 5.4 คู่แห่งจริต ในจริตทั้ง 6 อย่าง ท่านสงเคราะห์ด้วยความเสมอภาคกันได้เป็น 3 คู่ คือ ราคจริต กับ สัทธาจริต โทสจริต กับ พุทธิจริต โมหจริต กับ วิตกจริต ราคจริต กับ สัทธาจริต ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ ราคะเป็นหัวหน้าในฝ่ายอกุศล สัทธาก็เป็นหัวหน้าเหมือนกัน แต่เป็นหัวหน้าทางฝ่ายกุศล ราคะย่อมแสวงหากามในกามคุณ สัทธาก็แสวงหาเหมือนกัน แต่แสวงหาบุญ คือ กุศลกรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ราคะติดใจในสิ่งที่ไร้สาระไร้ประโยชน์ฉันใด สัทธาก็เลื่อมใสในสิ่งที่เป็นสาระเป็น ประโยชน์ฉันนั้น โทสจริต กับ พุทธิจริต (หรือปัญญาจริต) ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ โทสะมีการ เบื่อหน่าย แต่เป็นการเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ชอบ ถ้าสิ่งใดยังชอบอยู่ก็ไม่เบื่อหน่าย ส่วนปัญญา มีการ เบื่อหน่ายเหมือนกัน คือ เบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ว่าเลือกเบื่อหน่ายบ้างไม่เบื่อหน่ายบ้าง เหมือนอย่างโทสะ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โทสจริต เบื่อหน่ายด้วยอำนาจแห่งโมหะ ซึ่งเป็นทางให้ บทที่ 5 จ ริ ต ก บ ก า ร ป ฏิ บั ติ ก ม ม ฏ ฐ า น DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More