ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากจะสรุปให้ง่ายอารมณ์ก็คือวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ให้เกิดสมาธิ หรือวัตถุที่ใช้ฝึกจิต
มีกสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสติ 10 เป็นต้น
(2) กัมมัฏฐานหมายถึงวิธีการเจริญสมาธิ
กัมมัฏฐานที่หมายถึงวิธีการปฏิบัติ คือ วิธีการเพื่อให้การภาวนาดำเนินไปอย่างถูกต้องจนกว่าจะ
สำเร็จ โดยเพ่งเล็งถึงการเลือกสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่อำนวยให้เกิดความสำเร็จงานทางใจ
เป็นสำคัญ สิ่งแวดล้อมนั้นได้แก่ อาจารย์ สถานที่ บทภาวนา ความพร้อมของจิตใจ และการอุทิศเวลาให้
กับการฝึกใจ
1.2 กัมมัฏฐาน และคำที่เกี่ยวข้อง
ในเรื่องของการฝึกจิต นอกเหนือจากคำว่า กัมมัฏฐานที่นักศึกษาได้พบแล้ว นักศึกษามักจะได้ยิน
คำอีกหลายๆ คำ ที่หมายถึงเรื่องของการฝึกจิต เช่น สมาธิ การเจริญภาวนา เป็นต้น ดังนั้นนักศึกษาจะได้
ศึกษาเพิ่มเติมในคำเหล่านี้
1.2.1 สมาธิ
คำว่า สมาธิ เป็นศัพท์สำคัญ ที่ถือว่าเป็นศัพท์ดั้งเดิมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ด้วย
พระองค์เอง เพราะศัพท์นี้ปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตรอันเป็นปฐมเทศนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้
คำว่า สัมมาสมาธิ เพื่อบ่งบอกถึงข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน
ในทางวิชาการ คำว่า สมาธิ มีความหมายถึงระดับของจิต และวิธีที่กำหนดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดจิต
ระดับนั้นขึ้นมา
ในบทสนทนาระหว่างนางธรรมทินนากับอุบาสก นามว่า วิสาขา ซึ่งปรากฏในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย
ได้มีการอธิบายว่า สมาธิมีความหมายถึงทั้งระดับของจิต และเป็นวิธีการฝึกจิตแบบหนึ่ง
คุณวิสาขะ ถามว่า พระแม่เจ้า ธรรมอะไรเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าไรเป็นนิมิตแห่งสมาธิ ธรรม
เหล่าไรเป็นปริกขารของสมาธิ สมาธิภาวนาอย่างไร
ธรรมทินนา ตอบว่า คุณวิสาขะ ความที่จิตเป็นสภาพมีอารมณ์อันเดียว อันนี้เป็นสมาธิสติปัฏฐาน
4 เป็นนิมิตแห่งสมาธิ สัมมัปปธาน 4 เป็นปริกขารของสมาธิ ความเสพธรรมเหล่านั้นเนืองๆ การให้ธรรม
เหล่านั้นเจริญ การทำให้ธรรมนั้นมากขึ้น อันนี้เป็นสมาธิภาวนา”
สมาธิในพระพุทธศาสนา, พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 25
จูฬเวทัลลสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 19 ข้อ 508 หน้า 327
บ ท ที่ 1 กั ม ม ฏ ฐ า น และ วิธี ป ฏิ บั ติ ใน พระไตรปิฎก DOU 7