การเข้าใจอนิจจังและการละสังโยชน์ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 47
หน้าที่ 47 / 114

สรุปเนื้อหา

อนิจจังหมายถึงการที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีสิ่งใดถาวร โดยมนุษย์ต้องเรียนรู้เพื่อไม่ติดยึดกับอวัยวะหรือความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงได้ สังโยชน์คือกิเลสที่ผูกใจซึ่งมีอยู่ 10 อย่าง และการปฏิบัติวิปัสสนาช่วยให้มองเห็นความจริงและละสังโยชน์ได้ ควรกำจัดอุปาทานและเรียนรู้ว่าทุกสิ่งไม่มีความเป็นตัวตนที่แท้จริง การประยุกต์ใช้ภาวนามยปัญญาจะช่วยท่านในการมองเห็นความจริงของชีวิตอย่างลึกซึ้งและสามารถปล่อยวางกิเลสต่างๆ ได้ตามลำดับ

หัวข้อประเด็น

-อนิจจัง
-การเปลี่ยนแปลง
-การหยุดยึดติด
-สังโยชน์
-การภาวนา
-วิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนิจจัง ถูกสันตติปิดบัง คือ ความสืบต่อเนื่องกัน เช่น ของเก่าเสื่อมไป ของใหม่เข้ามาเกิดแทน ดังจะเห็นว่า มนุษย์และสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่นี้ก็เพราะ อวัยวะนั้นๆ เกิดใหม่แทนของเก่าไม่มีอันตราย จึงทรง อยู่ได้ ถ้าอวัยวะใหม่เกิดแทนไม่ทันหรือมีอันตราย มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็ตาย ชื่อว่า ขาดสันตติ ทุกข์ ถูกอิริยาบถปิดบัง คือ การบริหารร่างกายยักย้ายผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเหล่านี้เป็นต้น ได้ ปิดบังทุกข์ไว้ ถ้าหิวไม่บริโภคอาหาร ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่ถ่าย เมื่อร่างกายล้าไม่ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ จะเห็นได้ว่าเป็นทุกข์มาก เพราะการบริหารรักษาอิริยาบถที่เราทำอยู่โดยธรรมดา เราจึงมองไม่เห็นทุกข์ อนัตตา ถูกฆนสัญญาปิดบัง คือ การกำหนดหมายร่างกายว่าเป็นก้อน เป็นกอง เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดอุปาทานว่า เป็นตัวตน เมื่อประสงค์จะเห็นความไม่เป็นตัวตน ต้องแยกก้อนออกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย พิจารณาดู เช่น ร่ายกายคนเราประกอบด้วย หู ตา เป็นต้น การเห็นความเป็นจริงของชีวิตว่าตกอยู่ในสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่เป็นตัวตนนั้นต้องอาศัย ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา มิได้หมายถึง การใช้ปัญญาในขั้นสุตตมยปัญญา ที่เกิดจากการอ่าน ฟัง หรือจินตมยปัญญา ที่อาศัยการวิเคราะห์ คิด พิจารณา แต่เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้เจริญ ภาวนา จนกระทั่งได้ญาณทัสสนะ ก็จะเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (2) ละสังโยชน์ นอกจากผลแห่งการเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงแล้ว ภาวนามยปัญญาย่อมทำให้ สามารถกำจัดกิเลสที่เป็นอนุสัยกิเลส หรือสังโยชน์ที่อยู่ภายในจิตใจไปตามลำดับด้วย สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้ มี 10 อย่าง ได้แก่ สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ 1. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่า กาย ซึ่งมีอยู่ว่าเป็นเรา เป็นของเรา 2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น 3. สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดมั่นในศีลและข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่นอกไปจากมรรคผลปฏิปทา 4. กามราคะ คือ ความกำหนัดยินดีในกามคุณต่างๆ 5. ปฏิฆะ คือ ความขัดเคืองใจ สังโยชน์เบื้องสูง หรือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 6. รูปราคะ คือ ความยินดีในรูปฌาน หรือในรูปภพที่จะพึงเข้าถึงได้ด้วยรูปฌานนั้น 38 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า ก ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More