โพชฌงค์และอริยสัจในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 33
หน้าที่ 33 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับโพชฌงค์ 7 อย่าง ซึ่งประกอบด้วย สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา หัวข้อแต่ละหัวข้อได้ชี้ให้เห็นความสำคัญและการประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้รู้ชัดในจิตใจของตน นอกจากนี้ยังอธิบายถึงอริยสัจ 4 ที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ และวิธีการเข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริง ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า โดยใช้มาตรฐานจากหนังสือธรรมในมัชฌิมนิกาย.

หัวข้อประเด็น

-โพชฌงค์ 7 อย่าง
-อริยสัจ 4
-สำคัญของสติสัมโพชฌงค์
-การพัฒนาจิตใจตามพระพุทธศาสนา
-ความทุกข์ในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์แต่ละอย่าง คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา โพชฌงค์แต่ละอย่างมีอยู่ในจิตใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดแล้ว เจริญให้เต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร ดังพุทธพจน์ว่า “ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ 7 อย่างไรเล่า ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต.... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต.... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต.... อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย” 5. อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริงว่า คืออะไร เป็นอย่างไร และ จะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงได้เมื่อใด “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพลาดจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ 1 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 144 หน้า 620 24 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More