ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนโดยให้เห็นว่าประกอบขึ้นจากธาตุ 4
ดังพุทธพจน์ว่า
“ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้ คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโค
ผู้ฉลาดฆ่าแม่โคแล้ว นั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ อยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่โดย
ความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้”
6. นวสีวถิกา คือ การกำหนดรู้ร่างกายว่าเปรียบด้วยซากศพ โดยพิจารณาซากศพมีลักษณะ
ต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตายใหม่ๆ จนถึงกระดูกผุ แล้วให้ย้อนมานึกร่างกายของตนว่า
จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
ซากศพที่ให้พิจารณา 9 ระยะ มีลักษณะพอสรุปดังต่อไปนี้
1. ซากศพที่ขึ้นพองมีสีเขียว มีน้ำเหลืองไหล
2. ซากศพที่ถูกฝูงกา แร้ง สัตว์ต่างๆ กัดกินอยู่
3. ซากศพที่เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่
4. ซากศพที่เป็นร่างกระดูก ยังเปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่
5. ซากศพที่เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่
6. ซากศพที่เป็นร่างกระดูก ปราศจากเอ็นผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายเรี่ยราดไปคนละทิศละทาง
7. ซากศพที่เป็นกระดูก มีสีขาว เปรียบประดุจสีสังข์
8. ซากศพที่เป็นกระดูก เป็นกองเรี่ยราดแล้ว เก่าเกินปีหนึ่งไปแล้ว
9. ซากศพที่เป็นกระดูกผุละเอียด
(2) เวทนานุปัสสนา
หมายถึง การตามเห็นเวทนาในเวทนาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อเกิดความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ก็รู้ชัดว่า
ตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ดังพุทธพจน์ว่า
* มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 137 หน้า 610
20 DOU ส ม า ธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น