อานิสงส์แห่งการมอบต่อต่ออาจารย์ในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 90
หน้าที่ 90 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงความสำคัญของการมอบตัวแด่อาจารย์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุธรรมและความเจริญงอกงามในชีวิต โดยมีตัวอย่างจริงของพระภิกษุ 3 รูปที่มอบตัวแด่พระเถระและประสบความสำเร็จในทางธรรม แม้ว่าจะยังไม่ได้ยินเสียงของพระพุทธเจ้าก็ตาม การจริงใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้องย่อมให้ผลดี แม้จะเริ่มโดยไม่มอบตัวก็ตาม ก็ยังสามารถบรรลุผลได้ เช่นเดียวกับการสร้างจิตใจที่มั่นคงในการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการมอบตัว
-ตัวอย่างพระภิกษุ 3 รูป
-ผลดีจากการมอบตัว
-แนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐาน
-ความมั่นใจในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อได้มอบอัตภาพแด่อาจารย์แล้ว จึงเป็นผู้ที่อาจารย์ห้ามปรามได้ ไม่เป็นผู้ทำตามอำเภอใจ เป็นผู้ว่าง่ายและเป็นผู้ใกล้ชิดอาจารย์อยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมได้รับความสงเคราะห์ด้วยอามิสและ ธรรมะจากอาจารย์ ย่อมบรรลุธรรมสมปรารถนาถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา เหมือนดังเรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์ อันเตวาสิกของพระจูฬปิณฑปาติกติสสเถระ ครั้งนั้นพระภิกษุ 3 รูป เข้ามากราบพระเถระเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ ภิกษุ รูปหนึ่งกราบเรียนว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็กระผมสามารถ กระโดดลงในเหวลึก 100 ชั่วคนได้” รูปที่สองกราบเรียนว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็กระผมสามารถ ถูอัตภาพนี้ เริ่มตั้งแต่ ส้นเท้าเข้าที่ลานหิน จนตัวสึกไปไม่เหลือเลยได้” รูปที่สามกราบเรียนว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็กระผมสามารถ กลั้นลมหายใจเข้าออก จนสิ้นชีวิตได้” พระเถระเห็นว่า พระภิกษุทั้ง 3 รูปเป็นผู้สามารถสอนได้ จึงบอกกัมมัฏฐานให้ และทั้ง 3 รูปก็ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ นี้คือ อานิสงส์แห่งการมอบตนแด่อาจารย์ การมอบตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแด่อาจารย์ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กล่าวตามแนว วิสุทธิมรรค ซึ่งท่านมุ่งถึงพระภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ แต่ฆราวาสผู้มุ่ง ปฏิบัติกัมมัฏฐาน แม้จะถวายตัวแด่พระพุทธเจ้าและแด่อาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ก็ย่อมมีผลดีเช่นกัน ถึงแม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปนานแล้ว การถวายตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือระลึก นึกถึงพระพุทธองค์ ก็เป็นการสร้างกำลังใจและป้องกันความสะดุ้งกลัวในการปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม ในการเริ่มเจริญสมาธิ แม้ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้ถวายตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแด่อาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐาน ก็ย่อมปฏิบัติได้ผลเช่นกัน เพราะหลักสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติจริงและ ปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่ผู้ที่มอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธองค์และแด่อาจารย์กัมมัฏฐานของตน ย่อมมีแต่ ผลดีไม่มีผลเสีย ดังได้กล่าวมาแล้ว จเบื้อง บทที่ 4 กิ จ เ บื้ อ ง ต้ น ก่ อ น ก า ร เ จ ริ ญ กั ม ม ฏ ฐ า น DOU 81
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More