ข้อความต้นฉบับในหน้า
ต้องทำให้ใจหยุดก่อน ตรงตามความหมายว่า สงบนิ่ง ใจ ประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความ
คิด ความรู้ รวมกันเป็นจุดเดียว อยู่ที่เบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ความเห็น อยู่ที่ท่ามกลางกาย ความจำ อยู่ที่ท่ามกลาง
เนื้อหัวใจ ความคิด อยู่ที่ท่ามกลางดวงจิต ความรู้ อยู่ที่ท่ามกลางดวงวิญญาณ
4 อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ คำที่เรียกว่า ใจ นี่แหละเราต้องบังคับให้หยุดเป็น
จุดเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ ต้องมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง
ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กข้างใน สะดือทะลุหลังเป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้าย เป็นด้ายกลุ่มไป
เส้นหนึ่งตึงตรงกัน ซึ่งทั้ง 2 เส้นตรงกลางจรดกัน ที่กลางจรดกันนั้นแหละเรียกว่า กลางก๊ก กลางถูก
นั้นแหละ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ถูกกลางดวงพอดี
เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างจรดอยู่กลางก๊กนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มีที่ตั้ง
แห่งเดียวเท่านั้น
ใจ ที่เขาบอกว่า ตั้งใจ เราจะต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นทีเดียว ถึงจะถูกเป้าหมายใจดำ เขาบอกว่า
ตั้งใจ ต้องเอาใจไปหยุดตรงกลางนั้น เมื่อเอาใจไปหยุดอยู่กลางนั้นได้แล้วก็ ใช้สัญญาจำให้มั่นหยุดนิ่ง
บังคับให้นิ่งเชียว ถ้าไม่นิ่งก็ต้องใช้ บริกรรมภาวนาบังคับไว้ บังคับให้ใจหยุด บังคับหนักเข้า หนักเข้า
หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่ง ใจหยุด หยุด พอใจหยุดเท่านั้นแหละถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละ
เป็นตัวสมถะ
พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำใจให้หยุดว่า จะต้องหยุดให้ถูกที่ คือ ต้องหยุด
ที่ศูนย์กลางกาย จึงจะเป็นสมถะที่แท้ ท่านกล่าวไว้ว่า
“ใจที่หยุดต้องถูกกลางนะ ถ้าไม่ถูกกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์
เข้าส่วน ถูกสิบ ถูกศูนย์ ถูกส่วน ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิบ
เท่านั้นไม่ช้าจะเข้าถึงศูนย์ พอถูกสิบแล้วก็จะเข้า ถึงศูนย์ทีเดียว
โบราณท่านพูดกันว่า เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา เที่ยงแท้แน่นักหนา
ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ จุติแล้วปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น สังขาราไม่ยืนยิน
ราคีสิ้นเป็นตัวมา นี่สิบ ศูนย์นี้ เป็นตัวสำคัญนัก”
(2) วิธีการทำใจหยุด
พระมงคลเทพมุนีได้สอนวิธีการในการทำใจหยุด หรือทำสมถะเอาไว้ว่า
* มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย, ชีวประวัติ ผลงานและรวมพระธรรมเทศนา 63 กัณฑ์, กรุงเทพฯ : เทคนิค 19,
2528 หน้า 274
50 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ถ วิปัสสนากัมมัฏฐาน