ปีติและความสุขในสมาธิ MD 305 สมาธิ 5  หน้า 42
หน้าที่ 42 / 114

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความรู้สึกปีติห้าชนิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะความปีติที่ซาบซ่านและความสุขที่เกิดจากอารมณ์ที่ตั้งมั่นในความสงบ ปีติทั้งห้าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในการเจริญสมาธิและในช่วงของการเข้าถึงฌาน ความสุขที่มาพร้อมกับปีตินั้นมีความเหนือชั้นกว่าความสุขทางโลกีย์ และสามารถช่วยพัฒนาคุณธรรมและสุขภาพจิตได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงถึงความสำคัญของการอตุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์และเอกัคคตาในบริบทของการปฏิบัติสมาธิซึ่งเป็นการทำให้จิตใจมีสมาธิและแน่วแน่ในอารมณ์เดียว

หัวข้อประเด็น

-ปีติห้าชนิด
-ความสุขในสมาธิ
-องค์ฌาน
-การปฏิบัติสมาธิ
-ความสงบและสุขภาพจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. อุพเพงคาปีติ คือ ปีติโลดลอย ได้แก่ ความยินดีที่ทำให้รู้สึกโลดลอย แสดงอาการบาง อย่างโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทานออกมา เป็นต้น หรือบางท่านมีตัวลอยขึ้นเหนือพื้น ซึ่งปรากฏว่ามีอยู่ ในหมู่นักปฏิบัติทั้งในไทยและต่างประเทศ 5. ผรณาปีติ คือ ปีติซาบซ่าน ได้แก่ ความยินดีที่ทำให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่วร่างกาย ปีติตัว สุดท้ายเป็นปีติที่ท่านหมายถึงในองค์ฌาน ปีติทั้ง 5 ประการนี้ มักเกิดขึ้นแก่ผู้เจริญสมาธิ โดยปีติที่เกิดขึ้นในองค์ฌานเป็นผรณาปีติ ส่วนปีติ อีก 4 ชนิดที่เหลือย่อมเกิดขึ้นได้แก่ผู้เจริญสมาธิทั่วไป แม้ว่าจะไม่ได้ฌานก็ตาม ปีติ ขจัดพยาบาทนิวรณ์ คือ ความที่จิตคิดมุ่งมาดปรารถนาร้ายต่อผู้อื่น ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่คิด ผูกพยาบาทคิดร้ายผู้อื่น แต่จะเกิดเป็นความรู้สึกรักและปรารถนาดีกับทุกๆ คน 4) สุข คือ ความสุขใจ เมื่อจิตยกขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้นจนถึงขั้น เกิดปีติแล้ว ย่อมมีความสุข ปีตินั้นมีความยินดีอิ่มเอิบเกิดขึ้นด้วยอำนาจจิตที่ได้รับอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ น่าปรารถนา) ส่วนสุข ได้แก่ การเสวยรสอันเกิดจากปีติ หากอุปมา ปีติเปรียบเหมือนความปลื้มใจ ของคนที่เดินทางกันดาร ในเมื่อได้เห็นหรือได้ข่าวถึงชายป่าหรือแหล่งน้ำ ส่วนสุขเปรียบเหมือน ความสบายของคนที่เดินทางกันดารนั้น ในเมื่อได้เข้าไปสู่ร่มเงาของหมู่ไม้ในป่า และในเมื่อได้ดื่มน้ำตาม ความต้องการแล้ว ความสุขในฌานนี้ เป็นความสุขที่เลิศ ไม่มีความสุขใดในขั้นโลกิยะจะเสมอเหมือนได้เลย คือ เป็นความสุขอย่างยิ่งที่เหนือกว่าความสุขทางโลกีย์ที่เกิดจากกิน กาม เกียรติ ซึ่งเป็นความสุขที่ ยังมีทุกข์เจือปนอยู่มาก เป็นความสุขที่มีเหยื่อล่อ เป็นความสุขที่เหมือนกับอาหารเจือด้วยยาพิษ ถ้าใคร บริโภคโดยไม่ใคร่ครวญให้ดี หรือโดยไม่มีคุณธรรมกำกับแล้ว จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้น แต่ความสุข ที่เกิดจากความสงบนี้ แม้ไม่ถึงขั้นฌานก็เป็นความสุขที่น่าพึงใจ ถ้าใครได้พบความสุขชนิดนี้แล้วจะติดใจ และ อิ่มใจไปนาน และความสุขนี้ก็ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น คุณธรรมพอกพูนขึ้น ดังนั้นผู้ฉลาดจึงแสวงหา ความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ให้มาก ในขณะเดียวกันสุขก็ขจัดอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจไปด้วย ทำให้ผู้ปฏิบัติ ไม่เกิดความฟุ้งซ่านคิดไปในเรื่องราวต่างๆ แต่ใจจะแช่อิ่มอยู่ในสุขที่เกิดขึ้น จนบางครั้งอยากจะแบ่งความ สุขที่เกิดขึ้นนี้ให้กับทุกคน และจะเกิดคำสามัญที่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใด ต่างก็พูด เหมือนกันว่า “สุขจริงหนอ” 5) เอกัคคตา คือ ความที่จิตเป็นสมาธิ แน่วแน่ในอารมณ์เดียว ไม่คำนึงถึงอารมณ์อื่น มีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าจิตยังฟุ้งซ่านหรือมีอารมณ์เป็นสอง หรือยังไม่แนบแน่นในอารมณ์เดียว จิตก็ยังไม่รวมตัวเข้าเป็นหนึ่ง จึงยังไม่จัดว่าเป็นองค์ฌาน บทที่ 2 สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More