สัทธาจริตและพุทธิจริตในพระพุทธศาสนา MD 305 สมาธิ 5  หน้า 107
หน้าที่ 107 / 114

สรุปเนื้อหา

สัทธาจริตหมายถึงบุคคลที่มีคุณธรรมเยี่ยมยอดซึ่งไม่เพียงแต่เชื่อมั่นในหลักการของพระพุทธศาสนา แต่ยังมีจิตใจที่เปิดกว้างต่อการรับฟังคำสอนและการเรียนรู้จากพระอริยเจ้า โดยมีความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากทุกข์และเข้าถึงพระนิพพาน นอกจากนี้ พุทธิจริตสะท้อนถึงความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีและรู้จักการเลือกคบเพื่อนที่มีคุณธรรม รวมถึงการมีความเข้าใจในด้านการบริโภคและการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ สิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญในการฝึกฝนจิตใจและดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของสัทธาจริต
-ความสำคัญของพุทธิจริต
-การเจริญสติและศีลธรรม
-การเลือกคบคนดี
-การฟังพระธรรมเทศนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัทธาจริต บุคคลผู้เป็นสัทธาจริตย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยกุศลธรรม ธรรมอันดีซึ่งซ่อนอยู่ ในดวงใจของเขา ดังต่อไปนี้ มุตตจาคตา อริยานํ ทสฺสนกามตา สทฺธมฺมโสตุกามตา ปาโมชฺชพหุลตา เป็นคนยอมเสียสละ ไม่มีความกังวลห่วงใยในสิ่งทั้งปวง เป็นคนมีศรัทธาอันแรงกล้า ปรารถนาที่จะได้พบเห็นพระอริยเจ้า ทั้งหลายอย่างยิ่งยวด เป็นคนมีความปรารถนาที่จะได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา อันมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกับพระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องที่โน้มน้าว ใจตนให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ในห้วงวัฏฏสงสาร เป็นคนที่มากไปด้วยความปรีดาปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง ในเมื่อได้ มีโอกาสพบเห็นพระอริยเจ้าและได้สดับตรับฟังพระสัทธรรม เทศนาแล้ว อสฐตา เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีนิสัยพูดพล่อย พร่ำแต่อวดคุณงามความดี อมายาวิตา ปสาโท ของตัว เป็นคนไม่มีเล่ห์ ไม่มีมายา เป็นคนมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย หรือในท่านผู้มีพระคุณ เช่น มารดา บิดาครูบาอาจารย์อย่างแท้จริง พุทธิจริต บุคคลผู้เกิดมาแล้วและปรากฏว่าเขาเป็นผู้มีพุทธิจริต ย่อมมีความเป็นไปแห่งธรรม คือ ความดีความเลว ซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนลึกแห่งดวงใจของเขาดังนี้ โสวจสุสตา กลยาณมิตตตา โภชเนมตฺตญฺญุตา เป็นคนว่านอนสอนง่าย ยอมรับฟังคำแนะนำสั่งสอนที่มีประโยชน์ ด้วยดี ถึงแม้ท่านผู้สั่งสอนนั้น จะไม่ใช่เป็นบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหายก็ตาม หากคำตักเตือนแนะนำนั้นประกอบ ด้วยประโยชน์เกื้อกูลและความดีงามแก่ตนแล้วก็ยอมรับเอาทั้งสิ้น เป็นคนมีปัญญา เลือกคบเอาแต่คนดีเป็นเพื่อน ไม่ปรารถนาที่จะ คบคนพาลคนเลว หากว่าเป็นคนดีแล้วก็ยอมรับเอาเป็นมิตรของ ตนได้ในทันที โดยไม่มีการเลือกชั้นวรรณะว่าเป็นไพร่หรือผู้ดี เป็นคนมีปัญญา รู้จักประมาณในการรับอาหารที่เขาให้ และรู้จัก ประมาณในการบริโภค ไม่มีความประมาท ไม่มีความปรารถนา ใหญ่จนเกิดทุกข์ภัยแก่ตัว 98 DOU สมาธิ 5 ห ลั ก ส ม ก วิ ปั ส ส น า กั ม ม ฏ ฐ า น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More