วิชาจักรวาลวิทยา และการศึกษาเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 13
หน้าที่ 13 / 157

สรุปเนื้อหา

วิชาจักรวาลวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและจักรวาล รวมถึงกฎแห่งกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดภพภูมิต่างๆ โดยมีเนื้อหาเจาะลึกในแง่มุมของชีวิตในภพภูมิทั้ง 31 รวมถึงการสร้างบารมีตามแบบอย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่สิ้นสุด ทั้งนี้ยังเน้นย้ำถึงความเป็นจริงของโลกที่เต็มไปด้วยทุกข์และการทำความดีเพื่อสันติสุขในชีวิตและหลังตาย โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างที่สำคัญในการสร้างบารมีและพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-จักรวาลวิทยา
-กฎแห่งกรรม
-ปรโลกวิทยา
-การสร้างบารมี
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิชาจักรวาลวิทยา เป็นชุดวิชาที่ศึกษาเรื่องความเป็นไปของสิ่งมีชีวิต โลก และจักรวาล ตั้งแต่ องค์ประกอบของโลก ภพภูมิ 31 อันเป็นที่อยู่ของสัตวโลก (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) การเกิดขึ้นและการ แตกทำลายของโลก กฎแห่งกรรมอันเป็นกฎในการขับเคลื่อนให้เกิดภพภูมิ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดของ วิชาจักรวาลวิทยานี้ ยังครอบคลุมเนื้อหาของวิชากฎแห่งกรรมและปรโลกวิทยาบางส่วน แต่ได้กล่าวถึง เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 2 วิชาเพียงคร่าวๆ เท่านั้น วิชาปรโลกวิทยา ชุดวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาจักรวาลวิทยา ที่แยกออกมาเพื่อให้ สามารถนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาได้ชัดเจนมากขึ้น ในเนื้อหาจะเจาะลึกเรื่องวงจรชีวิตของสรรพสัตว์ ทั้งหลายในภพภูมิทั้ง 31 ให้ละเอียดขึ้น แต่ก่อนที่จะลงรายละเอียดเรื่องภพภูมิจะกล่าวถึงการกระทำ ที่เป็นกุศลและอกุศลอันเป็นผลนำสัตว์เหล่านั้นไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ วิชากฎแห่งกรรมด้วย วิชากฎแห่งกรรม เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาจักรวาลวิทยา ที่แยกออกมา เพื่อให้เห็นภาพ การทำงานของกฎแห่งกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น ในฐานะที่กฎแห่งกรรม เป็นส่วนหนึ่งของไตรวัฏ (กิเลส กรรม วิบาก) อันเป็นกฎเหล็กที่เป็นตัวขับเคลื่อนบังคับสรรพสัตว์ให้เกิดในภพภูมิต่างๆ หากทำดีก็ไปสู่ภพภูมิที่ดี มีสวรรค์ พรหม เป็นต้น หากทำชั่วก็ไปสู่ภพภูมิที่ไม่ดี มีนรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น ถึงแม้สรรพสัตว์ ทั้งหลายจะเกิดในฝ่ายดีหรือชั่วก็ตาม แต่ก็ยังคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอดไป ไม่มีที่สิ้นสุด เห็นได้ว่าในการนำเสนอเนื้อหาใน 3 ชุดวิชานี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้นักศึกษาได้มองโลกใบนี้ ตามความเป็นจริง คือ เป็นคุกใหญ่ เป็นที่ยังสรรพสัตว์ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น จึงมิควรยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมีแต่ทุกข์มีแต่โทษภัย หากทำผิดพลาดลงไปก็ย่อมมีโอกาสที่ จะได้รับผลแห่งกรรมนั้นๆ ทั้งในขณะที่มีชีวิตอยู่ และเมื่อละโลกไปแล้ว มากน้อยตามกรรมที่กระทำ หากได้ศึกษาจนเข้าใจความเป็นจริงของโลกอย่างถ่องแท้แล้ว จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยินดี ในการเวียนว่ายตายเกิด มีแรงบันดาลใจที่จะรีบสร้างบารมี โดยการฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวดเพื่อความ หลุดพ้นต่อไป การสร้างบารมีดังกล่าว หากไม่มีผู้รู้ช่วยชี้แนะแล้ว การที่จะไปถึงจุดหมายปลายทางคงเป็นไปได้ ด้วยความยากลำบาก และคงต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกอีกยาวนาน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีผู้เป็น ต้นแบบในการสร้างบารมี ซึ่งในที่นี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการศึกษาจากชุดวิชาศาสตร์แห่งการ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิชาศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รายละเอียดของเนื้อหาวิชานี้ จะเป็นการศึกษา แบบอย่างการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่พระชาติแรกที่ตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเรื่อยมา จนได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์ปัจจุบัน ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ เผยแผ่ ธรรมะ จนกระทั่งปรินิพพาน หากไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายในเรื่องความเป็น บทนำา DOU (11)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More