การเผยแพร่ธรรมะและความสำคัญของธรรมกาย GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 48
หน้าที่ 48 / 157

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการเผยแพร่ธรรมะซึ่งเป็นการกระทำของผู้พูดเอง การเชื่อในคุณค่าของพระพุทธศาสนาและความสำคัญของธรรมกายตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเน้นถึงความจริงที่ว่าเมื่อบุคคลเห็นธรรมกายก็จะเห็นถึงพระพุทธเจ้า และยกตัวอย่างจากบาลีพระธรรมบทและอัคคัญญสูตรในการยืนยันความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมกาย.

หัวข้อประเด็น

-ธรรมะและการเผยแพร่
-บทบาทของหลวงปู่
-ความหมายของธรรมกาย
-การเข้าถึงธรรม
-คำสอนจากพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สำนักไปเผยแพร่ ดีเสียกว่าการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เพราะการที่เขานำไปพูดนั้นเป็นการกระทำ ของผู้พูดเอง เราไม่ได้จ้างไม่ได้วานใคร เมื่อพูดทางไม่ดีก็ต้องมีคนพูดทางดีได้เหมือนกัน ธรรมะจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่เดือดร้อนใจ เพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็น ของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นของจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม เรื่องอย่างนี้ เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณของพระพุทธศาสนา” หลวงปู่ท่านถือคติว่า “ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพ ไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้” หมายความว่า สิ่งที่หลวงปู่ทำอยู่เป็นดังดอกไม้หอม กลิ่นหอมของการกระทำ คือ ชื่อเสียงที่ดีงามย่อมขจรขจายไป ทุกสารทิศ ใครก็มาปิดกั้นไม่ได้ เมื่อเขารู้ข่าวและได้เข้ามาพิสูจน์ ผู้นั้นย่อมได้รับกลิ่นหอมจากการพิสูจน์ กันทุกคน ท่านได้อ้างพุทธภาษิตที่มีมาในบาลีพระธรรมบทว่า โย โข วกุกลิ ธมฺนํ ปสฺสติ โส นํ ปสฺสติ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าแลเห็นเรา ตถาคต นอกจากนี้ ท่านได้อ้างเอาบาลีที่มีมาในอัคคัญญสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ที่พระพุทธองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตุ วาเสฏฐา อธิวจน์ ธมฺมกาโย อิติปิฯ ดูก่อนวาเสฏฐสามเณร คำว่าธรรมกายนี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้ เรื่องพระวักกลดังที่ยกมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อประกอบกับความในอัคคัญญสูตร ย่อมส่องความ ให้เห็นว่า ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ก็หมายความว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราคือ ตถาคตนั่นเอง หรือพูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือ ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า ทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิอยู่ใกล้ๆ กับพระองค์ หากจะแลดู ด้วยตาเนื้อ ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลิตาพิการ เมื่อเป็นเช่นนี้ไฉนพระองค์ จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ คือ กายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า “เรา” (ตถาคต) และยังตรัสว่าเป็น กายที่เน่าเปื่อยอีกด้วย นั่นคือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งเป็น “กายภายนอก” คำว่า “เรา” ในที่นี้จึงหมายถึง “กายภายใน” ซึ่งไม่ใช่กายที่เปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือ “ธรรมกาย” สามารถรู้เห็นได้เมื่อบำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้ว และเห็นด้วย “ตาธรรมกาย” ไม่ใช่ ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More