ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถูกสิบ ถึงศูนย์
“ใจที่หยุดต้องถูกกลางนะ ถ้าไม่ถูกกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์ เข้าส่วน ถูกสิบ
ถูกศูนย์ ถูกส่วน ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิบเท่านั้นไม่ช้าจะเข้าถึงศูนย์ พอถูกสิบแล้วก็จะ
เข้าถึงศูนย์ทีเดียว โบราณท่านพูดกันว่า
เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา
เที่ยงแท้แน่นักหนา อนิจจาเป็นอาจิณ
จุติแล้วปฏิสนธิ
สังขาราไม่ยืนยิน
ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
ราคีสิ้นเป็นตัวมา
นี่สิบ - ศูนย์นี้เป็นตัวสำคัญนัก สัตวโลกจะเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยเข้าสิบแล้วตกศูนย์จึงเกิดได้
ถ้าเข้าสิบไม่ตกศูนย์แล้วเกิดไม่ได้ นี่โลกกับธรรมต้องอาศัยกันอย่างนี้ ส่วนทางธรรมเล่าก็ต้องเข้าสิบ
เข้าสิบแล้วก็ตกศูนย์
“ตกศูนย์” คือ “ใจหยุด” พอใจหยุดเรียกว่าเข้าสิบ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น นั่นตกศูนย์แล้วเข้าสิบแล้วเห็นศูนย์แล้ว เรียกว่า “เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์”
ตรัส “อนัตตา” เพื่อให้หา “อัตตา”
“เหตุใดพระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทาง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญโดยสุขุมแล้ว
จะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิด ใช้วิจารณปัญญาสอดส่องเห็นได้เอง เช่น
พระองค์ตรัสถึง “อนิจจัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “นิจจัง”
ตรัสถึง “ทุกขัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “สุขัง”
ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา”
คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนว
พระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน 2 คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง
ใครมาถามเราว่าคนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตา
ของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยไม่จำเป็น
จะต้องพูดว่า คนเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตา ฉันนั้น
'จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “หลักการเจริญภาวนา สมถวิปัสสนากรรมฐาน”
ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
DOU 73