ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
แม้ว่าหลวงปู่จะรักชีวิตสันโดษ ด้วยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อปฏิบัติธรรม แต่ท่าน
ก็ไม่เคยนิ่งดูดายต่อส่วนรวม ไม่ว่าท่านจะไปพักอยู่ที่ใด ท่านมักจะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นในที่แห่งนั้นเสมอ
กอปรกับท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในหลายๆ ด้าน จึงเป็นเหตุให้พระเถระผู้ใหญ่ในวงการคณะสงฆ์
คือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (เพื่อน ติสสทัตตเถระ) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์ของท่าน ซึ่งขณะนั้น
ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงคุณสมบัติที่ดีของหลวงปู่ ท่านเจ้าคุณ
พระธรรมปิฎกเห็นว่าหลวงปู่สามารถทำประโยชน์ให้กับพระศาสนาได้อีกมาก จึงมอบหมายให้หลวงปู่ย้าย
ไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อเป็นเจ้าอาวาส โดยในช่วงแรกให้รักษาการเจ้าอาวาสไปก่อน
เมื่อหลวงปู่ท่านรับคำแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระครูสมุห์ฐานานุกรมของพระศากยยุติยวงศ์
เมื่อถึงวันกำหนด ท่านเดินทางจากวัดพระเชตุพนฯ โดยเรือยนต์หลวงที่กรมการศาสนาจัดถวาย
เพื่อเป็นเกียรติแก่พระอารามหลวง มีพระเถรานุเถระจากวัดพระเชตุพนฯ เดินทางมาส่ง และมีพระภิกษุ
ติดตามท่านมาด้วย 4 รูป ทางด้านวัดปากน้ำ มีพระเถระผู้ใหญ่ในอำเภอนั้น พร้อมทั้งญาติโยมจำนวนมาก
มารอต้อนรับคณะของท่าน
เมื่อมาถึงวัดปากน้ำ ท่านพบว่าวัดอยู่ในสภาพกึ่งวัดร้าง ภายในวัดมีสภาพทรุดโทรม ในสมัยนั้น
ที่นี่เป็นสวนพลู สวนหมาก สวนมะพร้าว สวนเงาะ มีศาลาที่เก่ามาก มีโรงครัวเล็กๆ กุฏิก็มีไม่กี่หลัง
เป็นกุฏิเล็กๆ ยกพื้น ปลูกด้วยไม้สัก พักได้รูปเดียว อยู่ตามร่องสวน พระภิกษุที่อยู่ก่อนมีจำนวน 13 รูป
มักย่อหย่อนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ทำให้ท่านต้องพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิดมาก่อนตั้งแต่วันแรกที่มาถึง
แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ในทางตรงกันข้าม ท่านกลับมีความคิดที่จะฟื้นฟู
วัดปากน้ำให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอีกด้วย
ผลงานและคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา
การค้นพบวิธีการเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไประยะหนึ่งแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลาย
ได้ค่อยๆ ลดจำนวนลง ผู้เข้าถึง “ธรรมกาย” ก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน เป็นเหตุให้วิชชาธรรมกายของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยดำรงอยู่ในครั้งพุทธกาลและสืบทอดมาอีกระยะหนึ่งนั้นเลือนหายไปในที่สุด ความรู้
พระอารามหลวง ชั้นตรีสามัญ สร้างสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทย
ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 21