การบวชและการศึกษาธรรมะของหลวงปู่ GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 28
หน้าที่ 28 / 157

สรุปเนื้อหา

หลวงปู่มีความตั้งใจที่จะบวชตลอดชีวิตแต่ต้องเลี้ยงดูแม่และพี่น้อง เมื่อเก็บเงินได้เพียงพอจึงตัดสินใจบวชที่วัดสองพี่น้องในปี 2449 โดยมีพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์มาช่วยพิธี ก้าวแรกของการศึกษาในพรรษาแรกทำให้หลวงปู่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมและมีแรงบันดาลใจที่จะไปศึกษาที่กรุงเทพฯ เพื่อค้นหาคำแปลที่สำคัญกับตัวท่าน การเรียนรู้ในช่วงแรกสร้างความยากลำบาก แต่ท่านยังคงมุ่งมั่น.

หัวข้อประเด็น

-การบวชของหลวงปู่
-การเลี้ยงดูครอบครัว
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-การต่อสู้กับความยากลำบาก
-แรงบันดาลใจในการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บวชแล้วขวนขวายศึกษาธรรมะ นับจากวันนั้น คำอธิษฐานยังคงฝังแน่นอยู่ในใจของหลวงปู่ตลอดมา ความคิดที่จะบวชตลอด ชีวิตยังชัดเจนอยู่ในใจ แต่ด้วยภาระที่ต้องเลี้ยงโยมแม่ ทำให้ยังไม่สามารถบวชได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตั้งใจ ทำมาหากิน และขยันเก็บเงินเก็บทองจนมีเงินเก็บได้มากพอสมควร ที่ทำให้โยมแม่และพี่น้อง มีเงินทอง ใช้จ่ายอย่างสะดวกสบายไม่ลำบากในอนาคต เมื่อหมดภาระเรื่องเงินทองแล้ว จึงตัดสินใจบวชทันที ในขณะนั้นอายุย่าง 22 ปี พอถึงเดือน 8 ข้างขึ้น หลังจากขนข้าวลงเรือจนเต็มลำแล้ว ก็ให้ลูกน้อง นำข้าวไปขายให้โรงสีในกรุงเทพฯ ส่วนตัวท่านก็เข้าวัดเป็นนาค เพื่อเตรียมตัวบวชที่วัด โดยมีพระปลัดยัง เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้องในขณะนั้น เป็นผู้สอนท่องคำขออุปสมบท ซักซ้อมพิธีอุปสมบทและสอนพระวินัยให้ เมื่อถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี ได้รับฉายาว่า จนฺทสโร โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โหน่ง อินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ การศึกษาในช่วงพรรษาแรก ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความทรงจำดีจึงสามารถท่องบทสวดมนต์และพระปาฏิโมกข์ได้หมด สำหรับ หลวงปู่ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระควบคู่กันไป เมื่อเรียนด้านคันถธุระ ไปได้ระยะหนึ่ง หลวงปู่ก็สงสัยว่า คำว่า “อวิชชาปจจยา” แปลว่าอะไร ด้วยความสงสัยที่ผุดขึ้นมา ในใจเหมือนกับปริศนาที่ต้องตอบให้ได้ ท่านมีความรู้สึกว่า คำๆ นี้มีความสำคัญต่อตัวท่าน จึงไปถามพระภิกษุ ที่อยู่ในวัด เมื่อถามใครก็ไม่มีใครรู้คำแปล มีพระรูปหนึ่งบอกว่า “เขาไม่แปลกันหรอกคุณ อยากรู้ก็ต้องไป เรียนที่บางกอก (กรุงเทพฯ)” เมื่อได้ฟังดังนั้น ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะ ต้องการจะรู้คำแปลให้ได้ เมื่อบวชได้ 7 เดือนเศษ จึงไปหาโยมแม่ และขอไปเรียนที่กรุงเทพฯ แม้ว่าโยมแม่จะไม่เต็มใจให้ไป แต่ก็จำยอม ท่านจึงขอปัจจัย 1 ชั่ง เพื่อเป็นค่าเดินทาง โดยตั้งใจว่าการขอครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อลาโยมแม่แล้ว จึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน และ ได้พาน้องชายคนเล็ก มาอยู่ด้วย โดยให้มาอุปัฏฐากและให้เรียนมูลกัจจายน์ (คัมภีร์บาลีไวยากรณ์) ไปด้วย ช่วงที่มาถึงวัดพระเชตุพนฯ ใหม่ๆ ในขณะนั้นท่านยังไม่มีหนังสือ ที่จะใช้เรียน จึงให้โยมพี่สาวซื้อถวาย ขณะเรียนหนังสืออยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ หลวงปู่ลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาตมาก บางวัน บิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียงส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ออกบิณฑบาตไม่ได้ 1 มีศักดิ์เป็นตาของหลวงปู่วัดปากน้ำ นายสํารวย มีแก้วน้อย * หนังสือเรียนในสมัยนั้น นิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน ภาคที่ 1 ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More