ข้อความต้นฉบับในหน้า
ครั้นอบรมหลวงพ่อธัมมชโยได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว
เห็นว่าหล่อหลอมเหมือนเป็นใจเดียวกับคุณยายแล้ว ก็ให้
หลวงพ่อธัมมชโยไปตามเพื่อนรุ่นๆ เดียวกัน หลวงพ่อทัตตชีโวจึงได้เข้ามาสร้างบารมีด้วย จากนั้น
หลวงพ่อทัตตชีโวก็ไปตามเพื่อนๆ มาอีก เป็นทอดๆ กันไป จนมีนิสิตนักศึกษามาเรียนธรรมะมากขึ้น
คุณยายจึงตั้งกฎระเบียบเอาไว้มากมายเพื่อเป็นหลักปฏิบัติต่อไป นี่คือหลักการหล่อหลอมคนหนุ่มสาว
ของคุณยาย
หลักการที่คุณยายใช้นี้ เป็นหลักการเดียวกันกับการสร้างงานสำคัญๆ ของโลกในอดีต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งที่เป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทำงานใหญ่แต่ละชาติ ท่านก็อาศัยคนหนุ่มสาว
ฝึกขึ้นมาเป็นกำลัง พอตรัสรู้ธรรมแล้วพระองค์ก็ฝึกคนขึ้นมาอีก คือชุดของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า คุณยายเป็นผู้หญิงและไม่มีความรู้ทางโลก แต่ด้วยญาณทัสสนะ คือ
ความรู้แจ้งภายในอันเกิดจากการเข้าถึงวิชชาธรรมกายท่านจึงอบรมหลวงพ่อธัมมชโยอบรมหลวงพ่อทัตตชีโว
และพระภิกษุรุ่นบุกเบิกได้ ซึ่งใช้เวลายาวนานเกือบสิบปี กว่าจะเริ่มงานเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป
คุณยายเป็นคนจริง ทำจริง และต้องทำให้สำเร็จ ดังนั้นแม้จะไม่รู้หนังสือ แต่เวลานี้ท่านคือครูของบรรดา
หนุ่มสาวระดับปัญญาชน
หลวงพ่อธัมมชโยบวชอุทิศชีวิต
เดือนเมษายน พ.ศ. 2512 หลวงพ่อธัมมชโยเรียนจบปริญญาตรี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณยายกำหนดไว้ว่า เมื่อหลวงพ่อมีความรู้ทางโลกแล้ว ก็พร้อมที่จะ
อุปสมบทเป็นพระภิกษุผู้เปี่ยมไปด้วยสติปัญญาและมีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นผู้นำในการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กว้างไกลต่อไปได้ จึงได้มีการปรึกษาหารือกันว่า หลวงพ่อธัมมชโยควรจะบวช
ในพรรษานี้
เมื่อหลวงพ่อตกลงใจที่จะบวช คุณยายก็ปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นความภาคภูมิใจสมกับที่
ได้ทุ่มเททั้งหมดของชีวิตเพื่อวิชชาธรรมกาย เย็นวันนั้น เมื่อทุกคนมาปฏิบัติธรรมกันพร้อมหน้า คุณยายก็
แจ้งข่าวนี้ให้ทราบ ทุกคนต่างปีติยินดีไปกับข่าวอันเป็นมงคลนี้ด้วย
ดังนั้น ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 จึงเป็นวันที่หลวงพ่อ
ธัมมชโยอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระเทพวรเวที (สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ในปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีฉายาว่า “ธัมมชโย” แปลว่า “ผู้มีชัยชนะด้วย
ธรรมกาย”
การบวชครั้งนี้เป็นการบวชอุทิศชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา ด้วยมโนปณิธานที่จะเผยแผ่วิชชา
ธรรมกายไปทั่วโลก เป็นภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่รอคอยท่านสืบสานให้สำเร็จลุล่วงในภายหน้าต่อไป
116 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์