การบวชและการเทศน์ของหลวงพ่อทัตตชีโว GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 137
หน้าที่ 137 / 157

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สรุปการบวชและการฝึกเทศน์ของหลวงพ่อทัตตชีโว โดยมีคุณยายเป็นผู้ฝึกสอน รวมถึงการตอบปัญหาของแขกและการพัฒนาเนกขัมมบารมี ผ่านวิธีการฝึกที่เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อเผยแผ่ธรรมะอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การบวชของหลวงพ่อทัตตชีโว
-การเทศน์และการฝึกสอน
-การตอบปัญหาของหลวงพ่อ
-เนกขัมมบารมี
-การเผยแผ่ธรรมะในเยาวชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่ว่าหญิงหรือชาย ที่มากราบพระทั้ง 2 รูป จะต้องมากราบที่บ้านธรรมประสิทธิ์เท่านั้น และหากเป็น แขกผู้หญิงท่านก็จะนั่งฟังอยู่ด้วยตลอดเวลา หลวงพ่อทั้งสองรูปจึงสามารถบำเพ็ญเนกขัมมบารมี" ได้ โดยไม่ถูกรบกวน เมื่อหลวงพ่อทัตตชีโวบวชได้เพียงสัปดาห์เดียว คุณยายก็เอ่ยว่า “ท่าน ตอนนี้เป็นพระแล้ว ท่านต้องเทศน์แล้วนะ” “ยาย พระไม่เคยเทศน์ที่ไหนเลย” “ไม่ยากหรอกท่าน ท่านหลับตานึกมองให้เห็นว่าท่านฝึกตัวเองมาอย่างไรในแต่ละเรื่องๆ ก็เอาเรื่องเหล่านั้นไปเทศน์ไปสอนโยม เพราะญาติโยมทั้งหลายเขาก็ไม่เกินท่านหรอก เขาก็มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเหมือนกัน กิเลสในตัวก็ตัวเดียวกัน ท่านปราบกิเลสได้อย่างไรก็เล่าให้โยมฟัง แค่นั้นโยมก็ชื่นใจแล้ว ท่านไม่ต้องไปเทศน์อะไรให้ลึกซึ้งหรอก แต่เมื่อท่านเทศน์อย่างนี้ก็เท่ากับท่านเทศน์ ตัวเองด้วย เทศน์โยมด้วยไปพร้อมๆ กัน แล้วเดี๋ยวความก้าวหน้าในธรรมะ ความสามารถในการเทศน์ ของท่านก็จะไปได้เอง” คุณยายท่านมีวิธีฝึกคนอย่างง่ายๆ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นหลักในการฝึกตัวให้แก่หลวงพ่อ ทัตตชีโวและลูกศิษย์รุ่นหลังๆ ต่อมา นอกจากฝึกให้เทศน์แล้ว คุณยายยังฝึกให้ท่านรับแขกเป็นด้วย บางครั้งหลวงพ่อธัมมชโยไม่อยู่ เมื่อถึงเวลารับแขก คุณยายจะมานั่งอยู่ด้วย เมื่อแขกมาซักถามปัญหาต่างๆ คุณยายจะบอกว่า “ไปถามองค์นั้น ท่านเป็นพระ ท่านจบจากมหาวิทยาลัย ท่านไปเมืองนอกมา ยายน่ะไม่รู้หนังสือหรอก” แล้วท่านก็นั่งเฉยไม่พูดสิ่งใด หลวงพ่อทัตตชีโวจึงต้องเป็นผู้ตอบปัญหา ซึ่งบางคำถามก็ไม่เหมาะสม ที่พระจะตอบ หลังจากที่แขกกลับไปแล้ว คุณยายจึงแนะนำการตอบคำถามที่พอเหมาะพอสมกับเพศ ภาวะให้ อีกทั้งต้องฝึกปฏิภาณในการรับแขกให้หลวงพ่อทัตตชีโวอยู่ถึง 2 ปี จึงสามารถตอบปัญหา ญาติโยมได้อย่างถูกต้องและถูกใจมาจนทุกวันนี้ ยุคเริ่มต้นของงานเผยแผ่ เมื่อการสร้างวัดดำเนินไปได้มากพอสมควรแล้ว หลวงพ่อธัมมชโยก็มีดำริที่จะอบรมสั่งสอน ธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อมุ่งพัฒนาจิตใจอันเป็นพื้นฐาน เนกขัมมบารมี คือ การออกบวช ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อพรากใจออกจากกาม 122 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More