ข้อความต้นฉบับในหน้า
คุณยายมีโอกาสขออโหสิกรรมกับพ่อในคราวนั้น พ่อของท่านซึ่งเป็นเทพบุตรไปแล้วก็ประนมมือ
ไหว้พระธรรมกายให้อโหสิกรรมกับคุณยายทุกประการ พ่อบอกกับคุณยายว่า “ที่พูดไปนั้นพูดด้วย
ความโมโห แต่ไม่มีเจตนาจะให้ลูกหูหนวกอย่างนั้น แต่ถ้าลูกติดค้างอยู่ในใจ ไม่สบายใจ พ่อก็ให้อภัย
อโหสิกรรม”
ชีวิตในวัดปากนํ้า
เมื่อคุณยายปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงธรรมกาย และไปช่วยพ่อให้พ้นจากนรกได้สำเร็จแล้ว ความ
รู้สึกแช่มชื่นเบิกบานก็ท่วมท้นอยู่เต็มหัวใจ ไม่มีความปรารถนาอะไรอีกทั้งสิ้น ท่านกล่าวว่า “การเข้าถึง
ธรรมกายนั้นเป็นสุขอย่างยิ่งสุขที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาทดแทนได้ในโลก เป็นความสุขที่ไม่มีประมาณเป็นสุขล้วนๆ
เป็นความรู้สึกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในชีวิต แม้ใครจะเอาทองคำกองท่วมหัวมาแลกก็ไม่ยอม”
ด้วยเหตุนั้นคุณยายจึงคิดว่า จะต้องทำงานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าของบ้านเห็นใจ จะได้ขอ
โอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดปากน้ำสัก 1 เดือน วันหนึ่งโอกาสเหมาะ หลังจากคุณยายได้นัดแนะกับ
คุณยายทองสุกไว้แล้ว ท่านเข้าไปขออนุญาตเจ้าของบ้านไปปฏิบัติธรรมที่วัดปากน้ำ เจ้าของบ้านก็เต็มใจ
อนุญาต แต่ได้กำชับว่าเมื่อครบหนึ่งเดือนแล้วให้กลับมา คุณยายฟังแล้วท่านก็นิ่ง ไม่ได้ตอบว่ากระไร
เจ้าของบ้านจึงเข้าใจเอาเองว่า เมื่อครบกำหนดแล้วคุณยายจะกลับมา
คืนนั้นคุณยายนอนหลับและฝันไปว่า ตัวท่านเองยืนอยู่บนฝั่งแม่น้ำใหญ่ มีเรือลำหนึ่งพาท่าน
ข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่มาก มีใบดก ร่มครึ้ม ทั้งใหญ่ทั้งสวยงาม ให้ร่มเงาร่มรื่น
หลังจากขึ้นฝั่งได้ท่านก็เข้าไปนั่งใต้ต้นโพธิ์ ด้วยความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่ง แล้วก็รู้สึกตัวตื่นขึ้น
คุณยายทองสุกพาคุณยายไปวัดปากน้ำเป็นครั้งแรก ในเวลาบ่ายของวันพฤหัสบดี ราวปี พ.ศ. 2481
ขณะนั้นหลวงปู่วัดปากน้ำกำลังลงสอนธรรมปฏิบัติอยู่บนศาลาซึ่งอยู่ใกล้กับโรงครัวของวัด
เมื่อคุณยาย
ทองสุกแนะนำคุณยายกับหลวงปู่วัดปากน้ำ หลวงปู่ท่านก็เงยหน้าขึ้นมามองคุณยาย ท่านนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง
ก็ทักขึ้นมาด้วยถ้อยคำซึ่งยากต่อการเข้าใจสำหรับคุณยายในขณะนั้นว่า “มึงมันมาช้าไป” แล้วท่านก็ส่ง
คุณยายเข้าโรงงานทำวิชชาในวันนั้นเลย
โดยปกติการที่จะเข้าโรงงานทำวิชชาในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก จะต้องผ่านด่าน คือการ
ทดสอบจากผู้ที่เข้าถึงธรรมกายรุ่นพี่ ซึ่งจะตั้งคำถามที่คนธรรมดาตอบไม่ได้ มีแต่ผู้ที่เข้าถึงธรรมกาย
1 หลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านจะสอนธรรมปฏิบัติให้กับสาธุชนทั่วไปทุกวันพฤหัสบดีในช่วงบ่าย หากมีสอนในวันอื่นๆ ถือว่า
เป็นโอกาสพิเศษ
88 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์