ประวัติการบวชสามเณรชาวต่างชาติที่วัดปากน้ำ GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ หน้า 67
หน้าที่ 67 / 157

สรุปเนื้อหา

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุได้นำชาวอังกฤษ 3 รูปมาศึกษาวิชชาธรรมกายและทำพิธีอุปสมบทให้ในวันมาฆบูชา งานบวชนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้พุทธศาสนิกชนอนุโมทนาสาธุการ รวมถึงมีสุภาพสตรีและชาวญี่ปุ่นที่สนใจการปฏิบัติธรรมที่วัดปากน้ำ โดยมีท่านสังฆราชตาคาชินาและท่านกาชิยูอิไซเข้าร่วมศึกษาด้วย

หัวข้อประเด็น

-ประวัติการบวช
-สามเณรชาวต่างชาติ
-วิชชาธรรมกาย
-การเผยแผ่ศาสนาพุทธ
-การศึกษาธรรมะที่วัดปากน้ำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ท่านกปิลวัฑโฒภิกขุจึงเดินทางกลับมาวัดปากน้ำอีกครั้ง พร้อมกับ นำชาวอังกฤษซึ่งได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว 3 รูป มาศึกษาวิชชาธรรมกาย และให้หลวงปู่ทำพิธี อุปสมบทให้ กำหนดการอุปสมบทมีขึ้นในวันมาฆบูชา วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2499 งานบวชใน ครั้งนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนอนุโมทนาสาธุการกันทั่วประเทศ สามเณรทั้งสามรูปที่เดินทางมาอุปสมบท มีรายนามดังนี้ 1. สามเณรโรเบิร์ต แอลนิสัน ชาวอังกฤษ อายุ 24 ปี จบอักษรศาสตรบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น นายหน้าค้าขาย เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่า สัทธาวัฑโฒ 2. สามเณรยอชเปลค ชาวจาไมก้า อายุ 33 ปี จบเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต อาชีพเดิมเป็น ข้าราชการในประเทศอังกฤษ เมื่อบวชแล้วได้รับฉายาว่า วิชชาวัฑโฒ 3. สามเณรปีเตอร์ มอร์แกน ชาวอังกฤษ อายุ 30 ปี อาชีพเดิมเป็นวิศวกรไฟฟ้า เมื่อบวชแล้ว ได้รับฉายาว่า ปัญฐาวัฑโฒ ทั้ง 3 ท่านนี้ ต่างก็เป็นผู้มีการศึกษา และเคยนับถือศาสนาอื่นมาก่อน การเปลี่ยนมานับถือ ศาสนาพุทธจนถึงกับสละชีวิตออกบวช จึงเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา และสร้างความปีติให้กับคนไทยทั้งหลาย เพราะพระภิกษุชาวต่างชาติทั้ง 3 รูป จะได้เป็นกำลังสำคัญในการนำธรรมะของพระบรมศาสดากลับไป เผยแผ่ยังมาตุภูมิของท่านต่อไป นอกจากนี้ยังมีสุภาพสตรีชาวอังกฤษ 3 คน ซึ่งเคยปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์กปิลวัฑโฒ แล้วรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาในวิชชาธรรมกาย จึงติดต่อขอเข้ามาบวชเป็นอุบาสิกา ซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาต จึงเดินทางมาอยู่วัดปากน้ำ นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล และเจริญภาวนา ในลักษณะของอุบาสิกา หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่ นอกจากจะเป็นที่สนใจของชาวตะวันตกแล้ว ยังมีชาวเอเชียตะวัน ออก คือ ชาวญี่ปุ่น เดินทางมาเพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ด้วย โดยในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้มีคณะสมณทูตจากญี่ปุ่น ภายใต้การนำของท่านสังฆราชตาคาชินา เดินทางมาเยี่ยมวัดปากน้ำ คณะสงฆ์จากญี่ปุ่นสนใจศึกษาเรื่องฐานที่ตั้งของใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านสังฆราชถึงกับกล่าวชื่นชม และ อาสาจะนำวิธีการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไปเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีพระผู้ติดตามในคณะ ชื่อท่านกาชิยูอิไซ สามารถปฏิบัติธรรมจนได้รับผลการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ถึงกับกล่าวทั้งน้ำตาแห่งความ ปีติหลังจากฝึกสมาธิว่า “ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบความสุขเช่นนี้เลย” ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 มีชาวญี่ปุ่นชื่อ นายทาโก ชิมารุจิ เป็นนักบวชนิกายนิชิเร็น สนใจการ อีก 1 คน ไม่ได้เดินทางมาอุปสมบท เนื่องจากบิดามารดาเสียชีวิต 2 นิกายนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดย “นิชิเร็น” (Nichiren พ.ศ. 1765-1825) วิธีปฏิบัติจะยึดมั่นกับการสวด “นัมเมียวโฮเร็งเงะเคียว” (Nammyoho-renge-kyo) ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ขอนอบน้อมแด่พระสัทธรรมปุณฑริกสูตร” เพียงพระสูตรเดียวเท่านั้น 52 DOU ปฏิปทา มหาปูชนียาจารย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More