ข้อความต้นฉบับในหน้า
ล้อมรั้วด้วยสังกะสี มีเพิ่งออกไปสองข้าง มีแผงกั้นเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งของพระ มีห้องของหลวงปู่
อยู่ตรงกลาง เป็นม่านกั้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งของแม่ชี ทั้งสองฝ่ายไม่เห็นหน้าและไม่รู้จักกัน จะได้ยินแต่
เสียงของหลวงปู่สั่งวิชชาผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ การเข้ามาในโรงงานทำวิชชานั้น พระขึ้นมาทางด้านหอไตร
ส่วนแม่ชีขึ้นมาทางวิหาร ทั้งสองฝ่ายจะไม่พบกัน
การทำงานในโรงงานทำวิชชา ทั้งสองฝ่ายต่างก็แบ่งเป็น 2 ผลัด ผลัดแรกเริ่มเข้าที่นั่งสมาธิตั้ง
แต่ 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ผลัดที่สองเริ่มตั้งแต่เที่ยงคืนไปออก 6 โมงเช้า ตอนกลางวัน ผลัดหนึ่งมารับ
ครึ่งวันตอนเช้า ผลัดสองก็มาต่อครึ่งวันตอนเย็น นั่งหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ได้หยุด
ในห้องทำวิชชานั้นจะมีเตียงขาดรู้เป็นเตียงสี่เหลี่ยมสำหรับผู้นั่งสมาธิแยกออกมาจากคนอื่นๆ คำว่า
“ขาดรู้” คือ ขาดจากความรับรู้ของกายมนุษย์ ตัดขาดจากความรู้สึกภายนอก ดิ่งเข้าไปในธรรมะ
ภายในเพียงอย่างเดียว ปล่อยใจเข้าไปสู่ธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง ผู้ที่นั่งสมาธิบนเตียงขาดรู้จะนั่งได้
หลายๆ ชั่วโมง ที่เตียงจะมีมุ่งเล็กๆ สำหรับกันยุง สำหรับที่นั่งรวมกันจะมีมุ้งหลังใหญ่ ทางฝ่ายพระมี
ประมาณ 30 รูป ฝ่ายแม่ชีก็มีจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนผู้ที่ไม่ได้ธรรมกายนั้น หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้เข้าไป
เพราะเกรงว่าจะไปรบกวนสมาธิของผู้ที่กำลังเจริญภาวนา นอกจากนั้นก็อาจจะเกิดความสงสัยในเรื่องที่
ละเอียดลึกซึ้ง อันไม่เป็นผลดีใดๆ
วันที่หลวงปู่เริ่มรวบรวมทีมผู้ได้ธรรมกายเพื่อทำวิชชานั้น คือ วันเข้าพรรษาของปี พ.ศ. 2474 และ
ทำมาตลอดไม่ได้หยุดเลยแม้แต่วันเดียว จนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ รวมระยะเวลาร่วม 28 ปี แสดงให้
เห็นว่าท่านเอาจริงเอาจังต่อการศึกษาวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด
วัตรปฏิบัติด้านการประพฤติธรรม
เป็นคนจริง
อุปนิสัยประการหนึ่งที่หลวงปู่วัดปากน้ำมีติดตัวมาตั้งแต่เล็กๆ คือ ความเป็นคนจริง ทำอะไรทำจริง
การที่ท่านปฏิบัติจนกระทั่งได้บรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกายอันเป็นกายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็เพราะท่านมีธาตุของคนจริงอยู่ในเนื้อแท้ของจิตใจ
ใครที่ได้เห็นท่านแม้เพียงลักษณะภายนอก ก็จะต้องชื่นชมในความสง่างาม พอเห็นเท่านั้นก็
เกิดความเคารพรัก อยากจะเข้าใกล้ มีทั้งความเกรงใจ ต้องรีบสำรวมระวัง มีทั้งความเลื่อมใสศรัทธา
รู้สึกได้ถึงความเมตตา ขณะเดียวกันก็มีความน่าเกรงขามด้วย อุปมาท่านเหมือนกับแม่ทัพนั่งบัญชา
การรบ ทั้งเด่น ทั้งสง่างาม ท่านมองหน้าใครตาไม่กะพริบ พอสบตาท่านเท่านั้น ราวกับแสงจากลูกนัยน์ตา
44 DOU ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์